로고

พระราชบัญญัติ การประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการ โทรทัศน์ พ.ศ. ๒๕๕๑ 2008 년 방송·텔레비전 사업법

ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร. ให้ไว้ณ วันที่ ๒๖ กุมภาพันธ์พ.ศ. ๒๕๕๑ เป็นปีที่ ๖๓ ในรัชกาลปัจจุบัน พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระ บรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่าโดยที่เป็นการสมควรมีกฎหมายว่าด้วยการ ประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ พระราชบัญญัตินี้มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการ จ ากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๓๒ มาตรา ๓๓ มาตรา ๓๕ มาตรา ๓๖ มาตรา ๔๑ มาตรา ๔๓ มาตรา ๔๕ มาตรา ๔๖ และ มาตรา ๔๗ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระท าได้โดยอาศัยอ านาจตามบทบัญญัติ แห่งกฎหมาย จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้น ไว้โดยค าแนะน าและยินยอมของสภานิติบัญญัติ แห่งชาติดังต่อไปนี้ 푸미폰 아둔야뎃 국왕 2008 년 2 월 26 일 재위 63 년 푸미폰 아둔야뎃 국왕께서 방송·텔레비전 사업 관련 법률을 제정하는 것이 마땅하다 고 왕명을 내리신 바 이 법에는 태국 왕국 「헌법」 제 29 조, 제 32 조, 제 33 조, 제 35 조, 제 36 조, 제 41 조, 제 43 조, 제 45 조, 제 46 조 및 제 47 조 와 관련된 개인의 권리와 자유를 제한하는 특정 조항이 포함되어 있으며 해당 제한은 법률의 규정에 따른 경우로 한정된다. 이에 국왕께서는 의회의 조언과 동의를 받 아 다음의 법률을 제정하는 바이다.

มาตรา ๑

พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า “พระราชบัญญัติ การประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ พ.ศ. ๒๕๕๑”

มาตรา ๒

๑ พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัด จากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป

มาตรา ๓

ให้ยกเลิก

(๑) พระราชบัญญัติวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ พ.ศ. ๒๔๙๘

(๒) พระราชบัญญัติวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๐๒

(๓) พระราชบัญญัติวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๒๑

(๔) พระราชบัญญัติวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๓๐

มาตรา ๔

ในพระราชบัญญัตินี้ “กิจการกระจายเสียง” หมายความว่า กิจการกระจาย เสียงตามกฎหมายว่าด้วยองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และ ก ากับกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์และกิจการ โทรคมนาคม “กิจการโทรทัศน์” หมายความว่า กิจการโทรทัศน์ตาม กฎหมายว่าด้วยองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และก ากับ กิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์และกิจการ โทรคมนาคม “กิจการกระจายเสียงหรือกิจการโทรทัศน์ที่ใช้คลื่น ความถี่” หมายความว่า กิจการกระจายเสียงหรือกิจการ โทรทัศน์ซึ่งต้องขอรับการจัดสรรคลื่นความถี่ตาม กฎหมายว่าด้วยองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และก ากับ กิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์และกิจการ โทรคมนาคม “กิจการกระจายเสียงหรือกิจการโทรทัศน์ที่ไม่ใช้คลื่น ความถี่” หมายความว่า กิจการกระจายเสียงหรือกิจการ โทรทัศน์ซึ่งไม่ต้องขอรับการจัดสรรคลื่นความถี่ตาม กฎหมายว่าด้วยองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และก ากับ กิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์และกิจการ โทรคมนาคม “โครงข่าย” หมายความว่า ระบบการเชื่อมโยงของกลุ่ม เครื่องส่งหรือถ่ายทอดสัญญาณเสียง หรือภาพที่ผู้ ประกอบกิจการกระจายเสียงหรือกิจการโทรทัศน์ใช้ใน การส่งข่าวสารสาธารณะหรือรายการจากสถานีไปยัง เครื่องรับ ไม่ว่าจะโดยสื่อตัวน าที่เป็นสาย คลื่นความถี่ แสง คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า หรือสื่อตัวน าอื่นใด “เจ้าของโครงข่าย” หมายความว่า บุคคลที่มีโครงข่าย เป็นของตนเองหรือผู้มีสิทธิในการด าเนินกิจการโครงข่าย ไม่ว่าจะเป็นผู้ประกอบกิจการกระจายเสียงหรือกิจการ โทรทัศน์หรือไม่ก็ตาม “สถานี” หมายความว่า สถานที่ที่ใช้ส าหรับท าการส่ง ข่าวสารสาธารณะหรือรายการของการประกอบกิจการ กระจายเสียงหรือกิจการโทรทัศน์ไม่ว่าจะเป็นการ ส่งผ่านโครงข่ายของตนเองหรือของผู้อื่นก็ตาม “กองทุน” หมายความว่า กองทุนพัฒนากิจการกระจาย เสียงและกิจการโทรทัศน์เพื่อประโยชน์สาธารณะตาม กฎหมายว่าด้วยองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และก ากับ กิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์และกิจการ โทรคมนาคม “แผนแม่บทกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์” หมายความว่าแผนแม่บทกิจการกระจายเสียงและ กิจการโทรทัศน์ตามกฎหมายว่าด้วยองค์กรจัดสรรคลื่น ความถี่และก ากับกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม “คลื่นความถี่” หมายความว่า คลื่นวิทยุหรือคลื่นแฮรต เซียนซึ่งเป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่มีความถี่ต ่ากว่าสาม ล้านเมกะเฮิรตซ์ลงมาที่ถูกแพร่กระจายในที่ว่างโดย ปราศจากสื่อน าที่ประดิษฐ์ขึ้น “คณะกรรมการ” หมายความว่า คณะกรรมการกิจการ กระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์แห่งชาติตามกฎหมาย ว่าด้วยองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และก ากับกิจการ วิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคม “กรรมการ” หมายความว่า กรรมการกิจการกระจาย เสียงและกิจการโทรทัศน์แห่งชาติ “ส านักงาน” หมายความว่า ส านักงานคณะกรรมการ กิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์แห่งชาติ “เลขาธิการ” หมายความว่า เลขาธิการคณะกรรมการ กิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์แห่งชาติ “พนักงานเจ้าหน้าที่” หมายความว่า ผู้ซึ่งคณะกรรมการ กิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์แห่งชาติแต่งตั้ง ให้ปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้

มาตรา ๕

ให้คณะกรรมการมีอ านาจแต่งตั้งพนักงาน เจ้าหน้าที่และออกประกาศเพื่อปฏิบัติการตาม พระราชบัญญัตินี้ ประกาศคณะกรรมการตามพระราชบัญญัตินี้ต้องจัดให้ มีการรับฟังความคิดเห็นของผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องด้วย ประกาศนั้นเมื่อประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วให้ใช้ บังคับได้

มาตรา ๖

ให้นายกรัฐมนตรีรักษาการตาม พระราชบัญญัตินี้

หมวด ๑ การประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการ โทรทัศน์

มาตรา ๗

ผู้ใดประกอบกิจการกระจายเสียงหรือกิจการ โทรทัศน์ต้องได้รับใบอนุญาตจากคณะกรรมการตาม ความในหมวดนี้ ให้คณะกรรมการมีอ านาจก าหนดลักษณะกิจการที่ไม่ถือ เป็นการประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการ โทรทัศน์ตามพระราชบัญญัตินี้

มาตรา ๘

ผู้ขอรับใบอนุญาตตามพระราชบัญญัตินี้ต้อง เป็นบุคคลสัญชาติไทยและไม่อยู่ในระหว่างถูกสั่งพักใช้ ใบอนุญาตหรือถูกเพิกถอนใบอนุญาตมาแล้วยังไม่ครบ สามปี

มาตรา ๙

ใบอนุญาตประกอบกิจการกระจายเสียงและ กิจการโทรทัศน์เป็นสิทธิเฉพาะตัวของผู้ได้รับใบอนุญาต จะโอนแก่กันมิได้ ผู้รับใบอนุญาตประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการ โทรทัศน์จะต้องประกอบกิจการด้วยตนเอง การแบ่งเวลา ให้ผู้อื่นด าเนินรายการให้กระท าได้ตามหลักเกณฑ์และ วิธีการที่คณะกรรมการตามพระราชบัญญัตินี้ก าหนด

ส่วนที่ ๑ กิจการกระจายเสียงหรือกจิการโทรทัศนท์ ี่ใช้คลื่น ความถี่

มาตรา ๑๐

ใบอนุญาตประกอบกิจการกระจายเสียง หรือกิจการโทรทัศน์โดยใช้คลื่นความถี่มีสามประเภท ดังนี้

(๑) ใบอนุญาตประกอบกิจการบริการสาธารณะ ได้แก่ ใบอนุญาตที่ออกให้ส าหรับการประกอบกิจการที่มี วัตถุประสงค์หลักเพื่อการบริการสาธารณะ แบ่งเป็นสาม ประเภท

(ก) ใบอนุญาตประกอบกิจการบริการสาธารณะประเภท ที่หนึ่งออกให้ส าหรับกิจการกระจายเสียงหรือกิจการ โทรทัศน์ที่มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อการส่งเสริมความรู้ การศึกษา ศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรม วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม การเกษตรและการส่งเสริม อาชีพอื่น ๆ สุขภาพ อนามัย กีฬา หรือการส่งเสริม คุณภาพชีวิตของประชาชน (ข) ใบอนุญาตประกอบกิจการบริการสาธารณะประเภท ที่สองออกให้ส าหรับกิจการกระจายเสียงหรือกิจการ โทรทัศน์ที่มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อความมั่นคงของรัฐหรือ ความปลอดภัยสาธารณะ (ค) ใบอนุญาตประกอบกิจการบริการสาธารณะประเภท ที่สาม ออกให้ส าหรับกิจการกระจายเสียงหรือกิจการ โทรทัศน์ที่มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อการกระจายข้อมูล ข่าวสารเพื่อส่งเสริมความเข้าใจอันดีระหว่างรัฐบาลกับ ประชาชนและรัฐสภากับประชาชน การกระจายข้อมูล ข่าวสารเพื่อการส่งเสริมสนับสนุนในการเผยแพร่และให้ การศึกษาแก่ประชาชนเกี่ยวกับการปกครองในระบอบ ประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข บริการข้อมูลข่าวสารอันเป็นประโยชน์สาธารณะแก่คน พิการ คนด้อยโอกาส หรือกลุ่มความสนใจที่มีกิจกรรม เพื่อประโยชน์สาธารณะหรือบริการข้อมูลข่าวสารอันเป็น ประโยชน์สาธารณะอื่น

(๒) ใบอนุญาตประกอบกิจการบริการชุมชน ได้แก่ ใบอนุญาตส าหรับการประกอบกิจการที่มีวัตถุประสงค์ เช่นเดียวกับการประกอบกิจการบริการสาธารณะ แต่ ต้องเป็นประโยชน์ตามความต้องการของชุมชนหรือ ท้องถิ่นที่รับบริการ

(๓) ใบอนุญาตประกอบกิจการทางธุรกิจ ได้แก่ ใบอนุญาตส าหรับการประกอบกิจการตามวัตถุประสงค์ ของผู้ประกอบกิจการเพื่อแสวงหาก าไรในทางธุรกิจ ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการประกาศก าหนด อย่าง น้อยแบ่งเป็นสามประเภท

(ก) ใบอนุญาตประกอบกิจการทางธุรกิจระดับชาติออก ให้ส าหรับกิจการกระจายเสียงหรือกิจการโทรทัศน์ที่มี พื้นที่ให้บริการครอบคลุมทุกภาคของประเทศ (ข) ใบอนุญาตประกอบกิจการทางธุรกิจระดับภูมิภาค ออกให้ส าหรับกิจการกระจายเสียงหรือกิจการโทรทัศน์ที่ มีพื้นที่การให้บริการในกลุ่มจังหวัด (ค) ใบอนุญาตประกอบกิจการทางธุรกิจระดับท้องถิ่น ออกให้ส าหรับกิจการกระจายเสียง หรือกิจการโทรทัศน์ที่ มีพื้นที่การให้บริการในจังหวัด

มาตรา ๑๑

ผู้ขอรับใบอนุญาตประกอบกิจการบริการ สาธารณะ ต้องเป็น

(๑) กระทรวง ทบวง กรม องค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น องค์การมหาชน หรือ หน่วยงานอื่นใดของรัฐที่มิใช่รัฐวิสาหกิจ ซึ่งมีหน้าที่ตาม กฎหมายหรือมีความจ าเป็นต้องด าเนินกิจการกระจาย เสียงหรือกิจการโทรทัศน์ตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการ ประกาศก าหนด

(๒) สมาคม มูลนิธิหรือนิติบุคคลอื่นที่จัดตั้งขึ้นตาม กฎหมายไทยที่มีวัตถุประสงค์ในการด าเนินกิจการเพื่อ ประโยชน์สาธารณะโดยไม่แสวงหาก าไรในทางธุรกิจ ซึ่ง มีความเหมาะสมกับการประกอบกิจการบริการ สาธารณะตามลักษณะและหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการ ประกาศก าหนด

(๓) สถาบันอุดมศึกษาเพื่อการใช้ประโยชน์ด้านการเรียน การสอนหรือการเผยแพร่ความรู้สู่สังคมตามลักษณะ และหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการประกาศก าหนด

มาตรา ๑๒

ผู้ขอรับใบอนุญาตประกอบกิจการบริการ ชุมชน ต้องเป็นสมาคม มูลนิธินิติบุคคลอื่นที่จัดตั้งขึ้น ตามกฎหมายไทย ซึ่งไม่ใช่หน่วยงานของรัฐและมี วัตถุประสงค์ในการด าเนินกิจการเพื่อประโยชน์ สาธารณะโดยไม่แสวงหาก าไรในทางธุรกิจ หรือกลุ่มคน ในท้องถิ่นที่ไม่เป็นนิติบุคคล ซึ่งรวมตัวกันเพื่อสร้างความ เข้มแข็งให้แก่ชุมชน ทั้งนี้ต้องมีความเหมาะสมกับการ ประกอบกิจการบริการชุมชนตามลักษณะที่ คณะกรรมการประกาศก าหนด ในการก าหนดลักษณะตามวรรคหนึ่ง ให้คณะกรรมการ ค านึงถึงประโยชน์ในการส่งเสริมการประกอบกิจการ กระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ให้เป็นไปอย่างมี ประสิทธิภาพสามารถตอบสนองความต้องการที่ หลากหลายของประชาชนในชุมชนหรือในท้องถิ่น รวมทั้งป้องกันการครอบง าการประกอบกิจการดังกล่าว

มาตรา ๑๓

ผู้ขอรับใบอนุญาตประกอบกิจการทางธุรกิจ ต้องเป็นนิติบุคคลที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย และต้อง มีลักษณะดังต่อไปนี้

(๑) ผู้ขอรับใบอนุญาตประกอบกิจการทางธุรกิจระดับ ภูมิภาคและระดับท้องถิ่นต้องเป็นนิติบุคคลที่ผู้ถือหุ้นอัน เป็นทุนหรือที่ผู้ลงทุนไม่น้อยกว่าหนึ่งในสามมีภูมิล าเนา อยู่ในเขตภูมิภาคหรือท้องถิ่นนั้น แล้วแต่กรณีและต้องมี ฐานะทางการเงินมั่นคง มีระบบการตรวจสอบบัญชีและ มีลักษณะอื่นใด ซึ่งประกันความมั่นคงในการประกอบ กิจการ ทั้งนี้ตามที่คณะกรรมการประกาศก าหนด

(๒) ผู้ขอรับใบอนุญาตประกอบกิจการประเภทอื่น นอกจาก (๑) ต้องเป็นรัฐวิสาหกิจหรือบริษัทที่จัดตั้งขึ้น ตามกฎหมายไทยที่มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อประกอบ กิจการกระจายเสียงหรือกิจการโทรทัศน์

มาตรา ๑๔

ผู้ขอรับใบอนุญาตตามมาตรา ๑๑ (๒) และ (๓) และมาตรา ๑๒ นอกจากมีคุณสมบัติและไม่มี ลักษณะต้องห้ามตามมาตรา ๘ แล้ว ต้องมีคุณสมบัติ และไม่มีลักษณะต้องห้าม ดังต่อไปนี้

(๑) บุคคลผู้มีอ านาจกระท าการผูกพันผู้ขอรับใบอนุญาต ต้องมีสัญชาติไทย

(๒) ไม่มีกรรมการหรือบุคคลผู้มีอ านาจกระท าการผูกพัน ผู้ขอรับใบอนุญาตที่เคยเป็นกรรมการหรือบุคคลผู้มี อ านาจกระท าการผูกพันของผู้รับใบอนุญาตอื่น ซึ่งถูก เพิกถอนใบอนุญาต อันเป็นผลมาจากการบริหารกิจการ ของผู้นั้นและระยะเวลาการถูกเพิกถอนใบอนุญาตยังไม่ ครบก าหนดสามปี

มาตรา ๑๕

ผู้ขอรับใบอนุญาตตามมาตรา ๑๓ นอกจาก ต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา ๘ และตามมาตรา ๑๔ แล้วต้องมีคุณสมบัติดังต่อไปนี้

(๑) เป็นนิติบุคคลซึ่งมีบุคคลผู้มีสัญชาติไทยลงทุนหรือ ถือหุ้นอันเป็นทุนไม่น้อยกว่าสามในสี่ของทุนทั้งหมดของ นิติบุคคลนั้น

(๒) เป็นนิติบุคคลซึ่งมีบุคคลผู้มีสัญชาติไทยมีอ านาจ ตามกฎหมายหรือตามข้อบังคับหรือตามข้อตกลงในการ ออกเสียงลงคะแนนไม่น้อยกว่าสามในสี่ของจ านวน คะแนนเสียงที่มีสิทธิออกเสียงทั้งหมดของนิติบุคคลนั้น ในกรณีผู้ขอรับใบอนุญาตตามมาตรา ๑๓ เป็นบริษัท กรรมการไม่น้อยกว่าสามในสี่ของจ านวนกรรมการ ทั้งหมดและกรรมการผู้มีอ านาจกระท าการผูกพันนิติ บุคคลนั้นต้องเป็นผู้มีสัญชาติไทย ในกรณีผู้ขอรับใบอนุญาตตามมาตรา ๑๓ เป็นห้าง หุ้นส่วนจ ากัดหรือห้างหุ้นส่วนสามัญจดทะเบียน หุ้นส่วน ผู้จัดการหรือผู้จัดการต้องเป็นบุคคลซึ่งมีสัญชาติไทย คณะกรรมการอาจก าหนดข้อห้ามมิให้กระท าการที่มี ลักษณะเป็นการครอบง ากิจการโดยคนต่างด้าวให้ผู้ ขอรับใบอนุญาตต้องปฏิบัติได้ เพื่อประโยชน์แห่งมาตรานี้ให้ถือว่า บุคคลผู้มีสัญชาติ ไทย หมายความว่า บุคคลที่มิใช่คนต่างด้าวตาม กฎหมายว่าด้วยการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว และ หุ้นที่บุคคลที่มีสัญชาติไทยถืออยู่หรือลงทุนอยู่จ านวน หนึ่งหุ้นนับเป็นเสียงหนึ่งในการลงคะแนน

มาตรา ๑๖

การยื่นค าขอรับใบอนุญาตและการอนุญาต ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์วิธีการและเงื่อนไขที่ คณะกรรมการประกาศก าหนด โดยต้องให้ผู้ขอรับ ใบอนุญาตระบุสถานีระบบ และวิธีการที่จะใช้ในการส่ง วิทยุกระจายเสียงหรือวิทยุโทรทัศน์รวมทั้งต้องเสนอ แผนบริการกิจการกระจายเสียงหรือกิจการโทรทัศน์ให้ คณะกรรมการพิจารณาด้วย ประกาศตามวรรคหนึ่งต้องสอดคล้องกับแผนแม่บท กิจการกระจายเสียงหรือกิจการโทรทัศน์และแผน ความถี่วิทยุตามกฎหมายว่าด้วยองค์กรจัดสรรคลื่น ความถี่และก ากับกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม

มาตรา ๑๗

การอนุญาตให้ประกอบกิจการกระจาย เสียงหรือกิจการโทรทัศน์โดยใช้คลื่นความถี่ ให้ คณะกรรมการออกใบอนุญาตประกอบกิจการโดย ค านึงถึงภารกิจหรือวัตถุประสงค์ของการประกอบกิจการ และเป็นไปตามสัดส่วนการจัดสรรคลื่นความถี่ที่ก าหนด ไว้ในกฎหมายว่าด้วยองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และ ก ากับกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์และกิจการ โทรคมนาคม ดังต่อไปนี้

(๑) การออกใบอนุญาตประกอบกิจการบริการสาธารณะ ให้ค านึงถึงหน้าที่ตามกฎหมาย หรือความจ าเป็นเพื่อการ บริการสาธารณะ โดยใช้คลื่นความถี่ที่จัดสรรไว้ส าหรับ ภาครัฐ

(๒) การออกใบอนุญาตประกอบกิจการบริการชุมชน ให้ ค านึงถึงความต้องการที่หลากหลาย ความพร้อม และ ประโยชน์สาธารณะของชุมชน โดยใช้คลื่นความถี่ที่ จัดสรรไว้ส าหรับภาคประชาชน

(๓) การออกใบอนุญาตประกอบกิจการทางธุรกิจให้ ค านึงถึงการส่งเสริมการแข่งขันโดยเสรีอย่างเป็นธรรม และสนับสนุนให้มีการประกอบกิจการประเภทที่ ให้บริการข่าวสารและสาระในสัดส่วนที่เหมาะสม โดยใช้ คลื่นความถี่ที่จัดสรรไว้ส าหรับภาคเอกชน

มาตรา ๑๘

การก าหนดอายุใบอนุญาตประกอบกิจการ กระจายเสียงและใบอนุญาตประกอบกิจการโทรทัศน์ให้ เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการประกาศก าหนด โดยค านึงถึงระยะเวลาที่คุ้มกับการลงทุน วัตถุประสงค์ ของการประกอบกิจการแนวทางการพัฒนากิจการของผู้ ขอรับใบอนุญาต ความต้องการของผู้บริโภค ความเสมอ ภาคในการแข่งขันของผู้ประกอบกิจการ รวมทั้งผลการ ประเมินคุณภาพรายการ ใบอนุญาตประกอบกิจการกระจายเสียงให้มีอายุไม่เกิน เจ็ดปี ใบอนุญาตประกอบกิจการโทรทัศน์ให้มีอายุไม่เกินสิบห้า ปี ในกรณีที่ใบอนุญาตตามวรรคสองสิ้นอายุให้ผู้รับ ใบอนุญาตยื่นค าขอรับใบอนุญาตใหม่อย่างน้อยเก้าสิบ วันแต่ไม่เกินหนึ่งปีก่อนวันที่ใบอนุญาตเดิมสิ้นอายุแต่ใน กรณีที่ใบอนุญาตตามวรรคสามสิ้นอายุให้ผู้รับ ใบอนุญาตยื่นค าขอรับใบอนุญาตใหม่อย่างน้อยเก้าสิบ วันแต่ไม่เกินสองปีก่อนวันที่ใบอนุญาตเดิมสิ้นอายุ เมื่อได้รับค าขอตามวรรคสี่แล้วให้คณะกรรมการ พิจารณามีค าสั่งภายในหกสิบวันนับแต่วันที่ได้รับค าขอ ในระหว่างนั้นให้ผู้รับใบอนุญาตประกอบกิจการต่อไปได้ จนกว่าคณะกรรมการจะสั่งไม่อนุญาต ในการสั่งไม่ อนุญาตให้คณะกรรมการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมการ ประกอบกิจการตามส่วนด้วย การยื่นค าขอรับใบอนุญาตและการพิจารณามีค าสั่งตาม วรรคสี่และวรรคห้า ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์วิธีการ เงื่อนไขและระยะเวลาที่คณะกรรมการประกาศก าหนด

มาตรา ๑๙

ค่าธรรมเนียมใบอนุญาตให้เป็นไปตามที่ คณะกรรมการก าหนดตามกฎหมายว่าด้วยองค์กร จัดสรรคลื่นความถี่และก ากับกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคม ผู้รับใบอนุญาตต้องช าระค่าธรรมเนียมการใช้คลื่น ความถี่และการประกอบกิจการกระจายเสียง และกิจการ โทรทัศน์แต่ละประเภทของใบอนุญาตเป็นรายปีตาม อัตราที่คณะกรรมการก าหนด การก าหนดอัตราค่าธรรมเนียมตามวรรคสองจะต้องไม่ เป็นภาระแก่ผู้ประกอบการหรือผู้ใช้บริการโดยไม่สม เหตุผล ทั้งนี้ให้คณะกรรมการค านึงถึงประโยชน์ สาธารณะ ความคุ้มค่า ความขาดแคลน และวิธีการ จัดสรรทรัพยากร คณะกรรมการอาจลดหย่อนหรือยกเว้นค่าธรรมเนียม ใบอนุญาตตามวรรคหนึ่งและวรรคสองให้แก่ผู้ขอ ใบอนุญาตหรือผู้รับใบอนุญาตตามพระราชบัญญัตินี้ หากผู้นั้นแสดงให้เป็นที่ประจักษ์แก่คณะกรรมการว่าการ ประกอบกิจการกระจายเสียงหรือกิจการโทรทัศน์ของตน มีรายการข่าวสารหรือสาระที่เป็นประโยชน์ต่อสาธารณะ เกินกว่าสัดส่วนของรายการที่เป็นข่าวสารหรือสาระที่เป็น ประโยชน์ต่อสาธารณะตามที่คณะกรรมการประกาศ ก าหนด หลักเกณฑ์และวิธีการด าเนินการตามวรรคสี่ ให้เป็นไป ตามระเบียบที่คณะกรรมการก าหนด

มาตรา ๒๐

ในการประกอบกิจการกระจายเสียงและ กิจการโทรทัศน์กรมประชาสัมพันธ์ผู้รับใบอนุญาต ประกอบกิจการบริการสาธารณะประเภทที่หนึ่งและ ประเภทที่สาม จะหารายได้จากการโฆษณาไม่ได้เว้นแต่ เป็นการหารายได้โดยการโฆษณาหรือเผยแพร่ข่าวสาร เกี่ยวกับงานหรือกิจการของหน่วยงานของรัฐหรือ รัฐวิสาหกิจ สมาคม มูลนิธิหรือนิติบุคคลอื่นที่มี วัตถุประสงค์ในการด าเนินกิจการเพื่อประโยชน์ สาธารณะ โดยไม่แสวงหาก าไรในทางธุรกิจ หรือการ เสนอภาพลักษณ์ขององค์กร บริษัท และกิจการโดยมิได้ มีการโฆษณาสรรพคุณ คุณประโยชน์หรือคุณภาพของ ผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องทั้งทางตรงและทางอ้อม ทั้งนี้ตาม หลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการประกาศก าหนด การประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ ผู้รับใบอนุญาตประกอบกิจการบริการสาธารณะประเภท ี่สอง ให้หารายได้จากการโฆษณาได้เท่าที่เพียงพอต่อ การประกอบกิจการโดยไม่เน้นการแสวงหาก าไร

มาตรา ๒๑

ในการประกอบกิจการกระจายเสียงและ กิจการโทรทัศน์ผู้รับใบอนุญาตประกอบกิจการบริการ ชุมชนจะหารายได้จากการโฆษณาไม่ได้

มาตรา ๒๒

ให้คณะกรรมการก าหนดให้ผู้รับใบอนุญาต ประกอบกิจการทางธุรกิจต้องน าส่งเงินรายปีเข้ากองทุน ตามอัตราที่คณะกรรมการประกาศก าหนด ซึ่งต้องไม่เกิน ร้อยละสองของรายได้ก่อนหักรายจ่ายที่ได้จากการ โฆษณาทั้งทางตรงและทางอ้อมและรายได้อื่นที่ เกี่ยวเนื่องกับการประกอบกิจการกระจายเสียงและ กิจการโทรทัศน์ตามที่ได้รับอนุญาต ในกรณีการประกอบกิจการทางธุรกิจแบบบอกรับเป็น สมาชิก เงินรายปีตามวรรคหนึ่งให้ค านวณจากค่า สมาชิก รายได้จากการโฆษณาทั้งทางตรงและทางอ้อม และค่าบริการอื่นที่เกี่ยวเนื่องกับการให้บริการสมาชิกที่ เรียกเก็บก่อนหักรายจ่าย ทั้งนี้ตามหลักเกณฑ์ที่ คณะกรรมการประกาศก าหนด

มาตรา ๒๓

ในการประกอบกิจการทางธุรกิจให้ ด าเนินการหารายได้โดยการโฆษณาการบริการธุรกิจ การจัดเก็บค่าสมาชิก หรือโดยวิธีอื่นใดได้ ในการด าเนินการตามวรรคหนึ่งที่มีการโฆษณาและการ บริการธุรกิจให้คณะกรรมการมีอ านาจประกาศก าหนด หลักเกณฑ์เกี่ยวกับลักษณะและระยะเวลาสูงสุดในการ โฆษณาและการบริการธุรกิจแต่ทั้งนี้จะก าหนดการ โฆษณาและการบริการธุรกิจได้ไม่เกินชั่วโมงละสิบสอง นาทีครึ่ง โดยเมื่อรวมเวลาโฆษณาตลอดทั้งวันเฉลี่ยแล้ว ต้องไม่เกินชั่วโมงละสิบนาที ในการด าเนินการตามวรรคหนึ่งที่มีการบอกรับสมาชิก หรือเรียกเก็บค่าบริการอื่นให้น าความในมาตรา ๒๘ มา ใช้บังคับโดยอนุโลม ผู้รับใบอนุญาตอาจแก้ไขเปลี่ยนแปลงอัตราค่าสมาชิก หรือค่าบริการและเงื่อนไขในการให้บริการของผู้รับ ใบอนุญาตได้ภายในหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการ ประกาศก าหนดตามวรรคสาม แต่ต้องไม่ กระทบกระเทือนสิทธิของสมาชิกภายในก าหนด ระยะเวลาตามข้อตกลงที่มีอยู่เดิม ในการประกาศหลักเกณฑ์ตามวรรคสองและวรรคสาม ให้คณะกรรมการค านึงถึงต้นทุนในการให้บริการและการ ให้ความเป็นธรรมในการแข่งขันระหว่างผู้รับใบอนุญาต ประเภทต่างๆและการให้ความเป็นธรรมแก่ผู้รับ ใบอนุญาตกับผู้บริโภคประกอบด้วย

มาตรา ๒๔

ให้ผู้รับใบอนุญาตจัดท ารายงานสถานะ ทางการเงินโดยแสดงรายรับและรายจ่ายที่ถูกต้องตาม ความเป็นจริงเสนอต่อคณะกรรมการตามหลักเกณฑ์ที่ คณะกรรมการประกาศก าหนด

ส่วนที่ ๒ กิจการกระจายเสียงหรือกจิการโทรทัศนท์ ี่ไม่ใช้ คลื่นความถี่

มาตรา ๒๕

ผู้ประกอบกิจการกระจายเสียงหรือกิจการ โทรทัศน์ที่ไม่ใช้คลื่นความถี่ต้องมีคุณสมบัติและไม่มี ลักษณะต้องห้ามตามมาตรา ๘ มาตรา ๑๔ และมาตรา การวินิจฉัยคุณสมบัติหรือลักษณะต้องห้ามของผู้ขอรับ ใบอนุญาต ให้น าหลักเกณฑ์และวิธีการตามที่ก าหนดใน ส่วนที่ ๑ กิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ที่ใช้ คลื่นความถี่มาใช้บังคับโดยอนุโลม

มาตรา ๒๖

ให้น าความในมาตรา ๑๘ และมาตรา ๑๙ มาใช้บังคับโดยอนุโลมกับการออกใบอนุญาตประกอบ กิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ตามมาตรา ๒๕

มาตรา ๒๗

เพื่อประโยชน์ในการก ากับดูแลการ ประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ที่ไม่ใช้ คลื่นความถี่ไม่ว่าจะมีการบอกรับสมาชิกหรือเรียกเก็บ ค่าบริการหรือไม่ ให้คณะกรรมการมีอ านาจประกาศ ก าหนดหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้

(๑) สัดส่วนรายการและผังรายการ

(๒) การหารายได้

(๓) การบันทึกรายการที่ออกอากาศไปแล้วและ ระยะเวลาในการเก็บรักษาบันทึกนั้น

มาตรา ๒๘

ในการประกอบกิจการของผู้รับใบอนุญาต ประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ที่ไม่ใช้ คลื่นความถี่ที่มีการบอกรับสมาชิกหรือเรียกเก็บ ค่าบริการอื่น ให้คณะกรรมการมีอ านาจประกาศก าหนด หลักเกณฑ์การเรียกเก็บค่าบริการ ระยะเวลาสูงสุดใน การโฆษณาและการบริการธุรกิจและเงื่อนไขในการ ให้บริการได้ ในการหารายได้จากการโฆษณาและการบริการธุรกิจ ตามวรรคหนึ่ง คณะกรรมการจะก าหนดระยะเวลาสูงสุด เกี่ยวกับการโฆษณาและการบริการธุรกิจได้ไม่เกินชั่วโมง ละหกนาทีโดยเมื่อรวมเวลาโฆษณาและการบริการ ธุรกิจ ตลอดทั้งวันเฉลี่ยแล้วต้องไม่เกินชั่วโมงละห้านาที การก าหนดระยะเวลาสูงสุดตามวรรคสอง ให้ คณะกรรมการค านึงถึงการคุ้มครองผู้บริโภค สภาพการ แข่งขันของตลาด ต้นทุนในการประกอบกิจการและการ ให้ความเป็นธรรมระหว่างผู้รับใบอนุญาตประกอบ กิจการกระจายเสียงหรือกิจการโทรทัศน์ที่ใช้คลื่นความถี่ กับผู้รับใบอนุญาตประกอบกิจการกระจายเสียงหรือ กิจการโทรทัศน์ที่ไม่ใช้คลื่นความถี่ประกอบด้วย ให้น าความในมาตรา ๒๒ มาตรา ๒๓ วรรคหนึ่ง วรรคสี่ และมาตรา ๒๔ มาใช้บังคับกับผู้รับใบอนุญาตตาม มาตรา ๒๕ โดยอนุโลม

ส่วนที่ ๓ การบริหารสถานี

มาตรา ๒๙

ในการประกอบกิจการกระจายเสียงหรือ กิจการโทรทัศน์ให้ผู้รับใบอนุญาตแต่งตั้งบุคคลซึ่งมี สัญชาติไทย เป็นผู้อ านวยการสถานีประจ าแต่ละสถานี เพื่อควบคุมดูแลให้มีการออกอากาศให้เป็นไปตามที่ ได้รับอนุญาต และจะต้องเป็นผู้รับผิดชอบดูแลการจัด รายการ การด าเนินรายการและการออกอากาศของ สถานีให้เป็นไปโดยถูกต้องตามกฎหมายและประกาศ ต่างๆ ที่คณะกรรมการประกาศก าหนด

มาตรา ๓๐

ผู้รับใบอนุญาตต้องรับผิดในการกระท าของ ผู้อ านวยการสถานีที่ได้กระท าไปในการควบคุมดูแลและ บริหารกิจการกระจายเสียงหรือกิจการโทรทัศน์เสมือน เป็นการกระท าของตนเอง เว้นแต่จะพิสูจน์ได้ว่าการ กระท าดังกล่าว ตนมิได้รู้เห็นหรือยินยอมด้วยและได้ใช้ ความระมัดระวังในการป้องกันตามสมควรแล้ว

ส่วนที่ ๔ การป้องกนัการผูกขาด

มาตรา ๓๑

เพื่อป้องกันมิให้บุคคลใดบุคคลหนึ่งครอบง า กิจการในลักษณะที่เป็นการจ ากัดโอกาสในการรับรู้ ข้อมูลข่าวสารสาธารณะที่มาจากแหล่งข้อมูลที่ หลากหลายหรือกระท าการอันเป็นการผูกขาดการ ประกอบกิจการสื่อมวลชนหลายประเภทในเวลาเดียวกัน ห้ามผู้รับใบอนุญาตถือครองธุรกิจในกิจการประเภท เดียวกัน หรือครองสิทธิข้ามสื่อในกิจการกระจายเสียง และกิจการโทรทัศน์ที่ใช้คลื่นความถี่เกินสัดส่วนที่ คณะกรรมการประกาศก าหนด ในกรณีที่ผู้รับใบอนุญาตฝ่ าฝืนประกาศของ คณะกรรมการตามวรรคหนึ่ง คณะกรรมการมีอ านาจสั่ง ให้ผู้รับใบอนุญาตแก้ไขการฝ่ าฝืนนั้นภายในเก้าสิบวัน เพื่อให้การถือครองธุรกิจเป็นไปตามประกาศดังกล่าว

มาตรา ๓๒

เพื่อส่งเสริมการแข่งขันอย่างเสรีและเป็น ธรรม และป้องกันมิให้มีการกระท าอันเป็นการผูกขาด ลด หรือจ ากัดการแข่งขันในการประกอบกิจการกระจาย เสียงหรือกิจการโทรทัศน์ให้การประกอบกิจการของผู้รับ ใบอนุญาตอยู่ในบังคับของกฎหมายว่าด้วยการแข่งขัน ทางการค้าและมาตรการเฉพาะที่คณะกรรมการประกาศ ก าหนดตามลักษณะการประกอบกิจการกระจายเสียง หรือกิจการโทรทัศน์ การกระท าอันเป็นการผูกขาด ลด หรือจ ากัดการแข่งขัน ในการประกอบกิจการกระจายเสียงหรือกิจการโทรทัศน์ ให้หมายความรวมถึงการถือครองธุรกิจในกิจการที่ เกี่ยวเนื่องกันหรือการใช้วัสดุหรืออุปกรณ์ที่ติดตั้งเป็น พิเศษเพื่อรับสัญญาณเสียงหรือภาพในลักษณะที่กีดกัน การแข่งขันอย่างเป็นธรรม

หมวด ๒ รายการของกิจการกระจายเสียงและกิจการ โทรทัศน์

มาตรา ๓๓

ผู้รับใบอนุญาตประกอบกิจการกระจาย เสียงและกิจการโทรทัศน์ที่ใช้คลื่นความถี่แต่ละประเภท ต้องจัดผังรายการให้มีสัดส่วนรายการ ดังต่อไปนี้

(๑) ผู้รับใบอนุญาตประกอบกิจการบริการสาธารณะต้อง ก าหนดให้มีรายการที่เป็นข่าวสารหรือสาระที่เป็น ประโยชน์ต่อสาธารณะในสัดส่วนไม่น้อยกว่าร้อยละเจ็ด สิบ

(๒) ผู้รับใบอนุญาตประกอบกิจการบริการชุมชนต้อง ก าหนดให้มีรายการที่เป็นข่าวสารหรือสาระที่เป็น ประโยชน์ต่อชุมชนหรือท้องถิ่นที่รับบริการในสัดส่วนไม่ น้อยกว่าร้อยละเจ็ดสิบ

(๓) ผู้รับใบอนุญาตประกอบกิจการทางธุรกิจต้อง ก าหนดให้มีรายการที่เป็นข่าวสารหรือสาระที่เป็น ประโยชน์ต่อสาธารณะในสัดส่วนไม่น้อยกว่าร้อยละยี่สิบ ห้า ผู้รับใบอนุญาตประกอบกิจการทางธุรกิจระดับภูมิภาค และระดับท้องถิ่น ต้องมีรายการที่ผลิตเองในสัดส่วนที่ คณะกรรมการประกาศก าหนด รายการที่เป็นข่าวสารหรือสาระที่เป็นประโยชน์ต่อ สาธารณะตามวรรคหนึ่งหมายความรวมถึงรายการ ข่าวสาร รายการส่งเสริมความรู้ความเข้าใจในการ ปกครองในระบอบประชาธิปไตย รายการส่งเสริม การศึกษาจริยธรรม ศิลปะ วัฒนธรรม การให้ความรู้ ความเข้าใจในการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม คุณภาพชีวิต และสิ่งแวดล้อม

มาตรา ๓๔

ผู้รับใบอนุญาตต้องจัดท าผังรายการให้ เหมาะสมกับวัตถุประสงค์ของการประกอบกิจการที่ ได้รับใบอนุญาต ทั้งนี้ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่ คณะกรรมการประกาศก าหนดส าหรับใบอนุญาตแต่ละ ประเภท ในกรณีจ าเป็นเพื่อคุ้มครองเด็กและเยาวชน คณะกรรมการอาจประกาศก าหนดช่วงเวลาของการ ออกอากาศรายการบางประเภทได้ ให้ผู้รับใบอนุญาตเสนอผังรายการให้คณะกรรมการ อย่างน้อยสิบห้าวันก่อนวันเริ่มให้บริการกิจการกระจาย เสียงหรือกิจการโทรทัศน์ ในกรณีที่คณะกรรมการเห็นว่าผังรายการไม่เป็นไปตาม หลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการประกาศก าหนด ให้ คณะกรรมการสั่งให้ผู้รับใบอนุญาตแก้ไขผังรายการให้ ถูกต้องได้เมื่อคณะกรรมการเห็นชอบกับผังรายการที่ได้ แก้ไขแล้ว ให้ผู้รับใบอนุญาตเริ่มให้บริการกิจการกระจาย เสียงหรือกิจการโทรทัศน์ตามผังรายการที่คณะกรรมการ เห็นชอบแล้วได้ ในกรณีที่ผู้รับใบอนุญาตประสงค์จะเปลี่ยนแปลงผัง รายการที่คณะกรรมการเห็นชอบแล้ว ให้เสนอ คณะกรรมการพิจารณาก่อนท าการเปลี่ยนแปลงไม่น้อย กว่าเจ็ดวันและให้น าความในวรรคสี่มาใช้บังคับโดย อนุโลม ในกรณีที่มีเหตุจ าเป็นเร่งด่วน ผู้รับใบอนุญาตอาจด าเนิน รายการที่แตกต่างจากผังรายการได้ตามหลักเกณฑ์ที่ คณะกรรมการประกาศก าหนด

มาตรา ๓๕

ในกรณีที่มีภัยพิบัติหรือมีเหตุฉุกเฉิน หรือมี กรณีอื่นตามที่คณะกรรมการประกาศก าหนด ซึ่งมีความ จ าเป็นต้องออกอากาศแจ้งข่าวหรือเตือนภัยให้ประชาชน ทราบ เมื่อรัฐบาลหรือหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องร้องขอ ให้ผู้รับใบอนุญาตด าเนินการตามที่ร้องขอนั้น

มาตรา ๓๖

เพื่อประโยชน์ในการส่งเสริมและคุ้มครอง สิทธิของคนพิการและคนด้อยโอกาส ให้เข้าถึงหรือรับรู้ และใช้ประโยชน์จากรายการของกิจการกระจายเสียง และกิจการโทรทัศน์ได้อย่างเสมอภาคกับบุคคลทั่วไป ให้ คณะกรรมการก าหนดมาตรการพื้นฐานบางประการ เพื่อให้ผู้รับใบอนุญาตจัดให้มีบริการที่เหมาะสมเพื่อ ประโยชน์ของบุคคลดังกล่าว คณะกรรมการอาจก าหนดมาตรการส่งเสริมใด ๆ เพิ่มเติม เพื่อให้ผู้รับใบอนุญาตพิจารณาปฏิบัติตาม ความเหมาะสม โดยคณะกรรมการอาจพิจารณา สนับสนุนค่าใช้จ่ายจากกองทุนหรือสนับสนุนหรือ ส่งเสริมด้วยวิธีการอื่นก็ได้ เพื่อให้มาตรการที่ก าหนดตามวรรคหนึ่งเหมาะสมต่อคน พิการและคนด้อยโอกาสให้คณะกรรมการรับฟังความ คิดเห็นหรือเปิดโอกาสให้คนพิการและคนด้อยโอกาสมี ส่วนร่วมในการก าหนดมาตรการดังกล่าวด้วย บริการที่เหมาะสมเพื่อประโยชน์ของคนพิการและคน ด้อยโอกาสตามวรรคหนึ่งอาจหมายความรวมถึง บริการ กระจายเสียงที่ออกอากาศรายการอ่านหนังสือเต็มเวลา หรือบริการโทรทัศน์ที่จัดให้มีล่ามภาษามือ บริการค า บรรยายเป็นอักษรวิ่ง หรือบริการค าบรรยายเป็นเสียง ส าหรับรายการที่น าเสนอข้อมูลข่าวสารสาธารณะ

มาตรา ๓๗

ห้ามมิให้ออกอากาศรายการที่มีเนื้อหา สาระที่ก่อให้เกิดการล้มล้างการปกครองในระบอบ ประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข หรือ ที่มีผลกระทบต่อความมั่นคงของรัฐ ความสงบเรียบร้อย หรือศีลธรรมอันดีของประชาชน หรือมีการกระท าซึ่งเข้า ลักษณะลามกอนาจาร หรือมีผลกระทบต่อการให้เกิด ความเสื่อมทรามทางจิตใจหรือสุขภาพของประชาชน อย่างร้ายแรง ผู้รับใบอนุญาตมีหน้าที่ตรวจสอบและให้ระงับการ ออกอากาศรายการที่มีลักษณะตามวรรคหนึ่ง หากผู้รับ ใบอนุญาตไม่ด าเนินการ ให้กรรมการซึ่งคณะกรรมการ มอบหมายมีอ านาจสั่งด้วยวาจาหรือเป็นหนังสือให้ระงับ การออกอากาศรายการนั้นได้ทันทีและให้คณะกรรมการ สอบสวนข้อเท็จจริงกรณีดังกล่าวโดยพลัน ในกรณีที่คณะกรรมการสอบสวนแล้วเห็นว่าการกระท า ดังกล่าวเกิดจากการละเลยของผู้รับใบอนุญาตจริง ให้ คณะกรรมการมีอ านาจสั่งให้ผู้รับใบอนุญาตด าเนินการ แก้ไขตามที่สมควร หรืออาจพักใช้หรือเพิกถอน ใบอนุญาตก็ได้

มาตรา ๓๘

ผู้รับใบอนุญาตต้องจัดให้มีการบันทึก รายการที่ได้ออกอากาศไปแล้ว โดยอาจบันทึกไว้ในเทป หรือวัสดุโทรทัศน์อย่างอื่น หรือด้วยวิธีการใด ๆ ที่ สามารถถ่ายทอดกลับมาเป็นรายการนั้นได้และเก็บ รักษาไว้เพื่อให้พนักงานเจ้าหน้าที่ท าการตรวจสอบได้ รายการที่ต้องจัดให้มีการบันทึกตามวรรคหนึ่ง และ ระยะเวลาในการเก็บรักษาการบันทึกนั้น ให้เป็นไปตามที่ คณะกรรมการประกาศก าหนด โดยระยะเวลาดังกล่าว ต้องไม่น้อยกว่าสามสิบวันและต้องไม่เป็นภาระแก่ผู้รับ ใบอนุญาตเกินความจ าเป็น

หมวด ๓ การส่งเสริมและควบคุมจริยธรรมแห่งวิชาชีพ และ การคุ้มครองผู้เสียหายจากการประกอบกิจการ กระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์

มาตรา ๓๙

ให้คณะกรรมการด าเนินการส่งเสริมการ รวมกลุ่มของผู้รับใบอนุญาต ผู้ผลิตรายการและผู้ ประกอบวิชาชีพสื่อสารมวลชนที่เกี่ยวกับกิจการกระจาย เสียงและกิจการโทรทัศน์เป็นองค์กรในรูปแบบต่าง ๆ เพื่อท าหน้าที่จัดท ามาตรฐานทางจริยธรรมของการ ประกอบอาชีพหรือวิชาชีพและควบคุมการประกอบ อาชีพหรือวิชาชีพกันเองภายใต้มาตรฐานทางจริยธรรม การจัดท ามาตรฐานทางจริยธรรมขององค์กรตามวรรค หนึ่ง ต้องค านึงถึงการคุ้มครองการได้รับรู้ข้อมูลข่าวสาร สาธารณะของประชาชน และการคุ้มครองผู้บริโภคจาก การประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ รวมทั้งการคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของผู้ประกอบ อาชีพและวิชาชีพขององค์กร ในการควบคุมการประกอบอาชีพหรือวิชาชีพขององค์กร ตามวรรคหนึ่ง ให้แต่ละองค์กรตามวรรคหนึ่งจัดตั้ง คณะกรรมการควบคุมจริยธรรมขึ้นโดยมีองค์ประกอบ และให้ค านึงถึงสัดส่วนที่เหมาะสมระหว่างผู้ประกอบ อาชีพและวิชาชีพ นักวิชาการและผู้ทรงคุณวุฒิภายนอก องค์กรตามวรรคหนึ่งที่มีการจัดท ามาตรฐานทาง จริยธรรม คณะกรรมการอาจให้การส่งเสริมจากกองทุน ตามมาตรา ๕๒ ก็ได้

มาตรา ๔๐

ผู้ที่ได้รับความเสียหายเนื่องจากรายการที่ ออกอากาศเป็นเท็จหรือละเมิดสิทธิเสรีภาพ เกียรติยศ ชื่อเสียง สิทธิในครอบครัว หรือความเป็นอยู่ส่วนตัวของ บุคคลอาจร้องเรียนต่อคณะกรรมการ ให้คณะกรรมการส่งเรื่องพร้อมความเห็นของ คณะกรรมการให้องค์กรควบคุมการประกอบอาชีพหรือ วิชาชีพตามมาตรา ๓๙ เพื่อให้ด าเนินการเยียวยาให้แก่ ผู้เสียหายโดยเร็ว และให้คณะกรรมการติดตามผลการ ด าเนินการขององค์กรควบคุมการประกอบอาชีพหรือ วิชาชีพตามมาตรา ๓๙ เมื่อองค์กรควบคุมการประกอบ อาชีพหรือวิชาชีพตามมาตรา ๓๙ ได้แจ้งผลการ ด าเนินการให้คณะกรรมการทราบแล้ว ให้แจ้งผู้ร้องเรียน ทราบผลการด าเนินการโดยเร็ว ผลการด าเนินการในหมวดนี้ให้เป็นส่วนหนึ่งของการ ด าเนินการตามมาตรา ๕๑ (๑)

หมวด ๔ การสร้างโครงข่ายพนื้ ฐาน การใช้และเชื่อมต่อ โครงข่ายในการประกอบกิจการกระจายเสียงและ กิจการโทรทัศน์

มาตรา ๔๑

ภายใต้บังคับมาตรา ๔๙ ในการด าเนิน กิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ถ้าผู้รับ ใบอนุญาตมีเหตุต้องปักหรือตั้งเสา หรือเดินสาย วางท่อ หรือติดตั้งอุปกรณ์ประกอบใดและจ าเป็นต้องใช้สิทธิ ตามมาตรานี้ให้ผู้รับใบอนุญาตจัดท าแผนผังแสดง รายละเอียดของลักษณะทิศทางและแนวเขตในการปัก หรือตั้งเสา เดินสาย วางท่อและการติดตั้งอุปกรณ์ ประกอบใด เสนอต่อคณะกรรมการเพื่อให้ความเห็นชอบ ก่อนด าเนินการ เมื่อคณะกรรมการได้ให้ความเห็นชอบตามวรรคหนึ่งแล้ว ให้ผู้รับใบอนุญาตมีสิทธิด าเนินการต่อไปได้โดยให้น า ความในหมวด ๔ แห่งพระราชบัญญัติการประกอบ กิจการโทรคมนาคม พ.ศ. ๒๕๔๔ มาใช้บังคับโดย อนุโลม ทั้งนี้โดยให้อ านาจหน้าที่ของคณะกรรมการ กิจการโทรคมนาคมแห่งชาติเป็นอ านาจหน้าที่ของ คณะกรรมการตามพระราชบัญญัตินี้และสิทธิหน้าที่ใด ที่ก าหนดให้เป็นของผู้รับใบอนุญาตประกอบกิจการ โทรคมนาคมเป็นสิทธิหน้าที่ของผู้รับใบอนุญาตตาม พระราชบัญญัตินี้ ในกรณีที่บทบัญญัติในหมวด ๔ แห่งพระราชบัญญัติการ ประกอบกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. ๒๕๔๔ บัญญัติให้ การกระท าใด ๆเป็นความผิดและมีบทก าหนดโทษ ส าหรับความผิดนั้นให้น ามาใช้บังคับกับผู้รับใบอนุญาต ด้วยโดยให้ถืออัตราโทษอย่างเดียวกัน

มาตรา ๔๒

เจ้าของโครงข่ายต้องยินยอมให้ผู้รับ ใบอนุญาตใช้หรือเชื่อมต่อโครงข่ายของตนตาม หลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะกรรมการประกาศก าหนด เจ้าของโครงข่ายอาจปฏิเสธไม่ให้ความยินยอมให้ใช้หรือ เชื่อมต่อโครงข่ายได้เฉพาะกรณีดังต่อไปนี้

(๑) โครงข่ายที่มีอยู่ไม่เพียงพอแก่การให้ผู้รับใบอนุญาต ใช้หรือเชื่อมต่อ

(๒) การใช้หรือเชื่อมต่อโครงข่ายอาจกระทบต่อความ มั่นคงของรัฐ

(๓) การใช้หรือเชื่อมต่อโครงข่ายอาจก่อให้เกิดการ รบกวนหรือเป็นเหตุขัดขวางการให้บริการกิจการกระจาย เสียงหรือกิจการโทรทัศน์ของเจ้าของโครงข่ายหรือ ผู้ใช้บริการโครงข่ายรายอื่น

(๔) กรณีอื่นตามที่คณะกรรมการประกาศก าหนด ให้เจ้าของโครงข่ายซึ่งปฏิเสธไม่ให้ใช้หรือเชื่อมต่อ โครงข่ายตามวรรคสองมีหน้าที่พิสูจน์ถึงเหตุแห่งการ ปฏิเสธนั้น การเรียกเก็บค่าตอบแทนการใช้หรือเชื่อมต่อโครงข่าย ต้องเป็นไปอย่างสมเหตุสมผลและเป็นธรรมต่อเจ้าของ โครงข่ายกับผู้รับใบอนุญาตที่ขอใช้หรือเชื่อมต่อโครงข่าย และต้องมีความเท่าเทียมกันในระหว่างผู้รับใบอนุญาต ทุกราย การก าหนดหลักเกณฑ์และวิธีการตามวรรคหนึ่ง ให้ คณะกรรมการจัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นจากผู้รับ ใบอนุญาตและเจ้าของโครงข่ายที่เกี่ยวข้องด้วย

มาตรา ๔๓

ในกรณีที่มีการปฏิเสธไม่ให้ใช้หรือเชื่อมต่อ โครงข่ายหรือมีข้อที่ตกลงกันไม่ได้ในการเจรจาท า สัญญาการใช้หรือเชื่อมต่อโครงข่าย คู่กรณีมีสิทธิร้อง ขอให้คณะกรรมการพิจารณาได้ตามหลักเกณฑ์และ วิธีการที่คณะกรรมการประกาศก าหนดค าวินิจฉัยของ คณะกรรมการให้เป็นที่สุด การวินิจฉัยให้ใช้หรือเชื่อมต่อโครงข่ายตามวรรคหนึ่ง ต้องค านึงถึงความปลอดภัยและการป้องกันความ เสียหายที่อาจเกิดขึ้นด้วย ในระหว่างการพิจารณาของคณะกรรมการตามวรรคหนึ่ง ถ้ามีเหตุอันควรเชื่อได้ว่า การปฏิเสธไม่ให้ใช้หรือเชื่อมต่อ โครงข่ายน่าจะไม่เป็นไปตามมาตรา ๔๒ วรรคสอง คณะกรรมการอาจสั่งให้ใช้หรือเชื่อมต่อโครงข่ายไป พลางก่อน ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะกรรมการ ประกาศก าหนดได้

มาตรา ๔๔

ข้อตกลงเกี่ยวกับการใช้หรือเชื่อมต่อ โครงข่ายต้องมีลักษณะดังนี้

(๑) ไม่เป็นการเลือกปฏิบัติหรือกีดกันผู้รับใบอนุญาตราย อื่น

(๒) ข้อก าหนดทางเทคนิค ณ จุดที่มีการใช้หรือเชื่อมต่อ โครงข่ายต้องชัดเจนมีความเป็นไปได้ทางเทคนิค และไม่ ก่อให้เกิดภาระแก่ผู้ขอใช้หรือเชื่อมต่อโครงข่ายเกิน สมควร

(๓) มีการก าหนดหน้าที่และความรับผิดชอบของผู้รับ ใบอนุญาตที่ขอใช้หรือเชื่อมต่อโครงข่ายและเจ้าของ โครงข่ายที่ชัดเจน

(๔) มีการก าหนดอัตราค่าตอบแทนการใช้หรือเชื่อมต่อ โครงข่ายตามมาตรา ๔๒ วรรคสี่

(๕) ลักษณะอื่นตามที่คณะกรรมการประกาศก าหนด ให้เจ้าของโครงข่ายจัดส่งส าเนาข้อตกลงให้ คณะกรรมการภายในสิบวันนับแต่วันที่ได้มีการลงนาม ในข้อตกลง ถ้าคณะกรรมการเห็นว่าข้อตกลงดังกล่าวไม่ เป็นไปตามลักษณะในวรรคหนึ่ง คณะกรรมการมีอ านาจ สั่งให้ด าเนินการแก้ไขภายในระยะเวลาที่ก าหนด ให้ เจ้าของโครงข่ายปฏิบัติตามค าสั่งของคณะกรรมการ แต่ ถ้าผู้ขอใช้หรือขอเชื่อมต่อโครงข่ายไม่ปฏิบัติตามค าสั่ง ของคณะกรรมการให้ข้อตกลงนั้นเป็นอันสิ้นผล

มาตรา ๔๕

เจ้าของโครงข่ายต้องเปิดเผยข้อตกลงการใช้ หรือเชื่อมต่อโครงข่าย รวมทั้งอัตราค่าตอบแทนการใช้ หรือเชื่อมต่อโครงข่ายตามวิธีการที่คณะกรรมการ ประกาศก าหนด

มาตรา ๔๖

ในกรณีที่ข้อเท็จจริงเปลี่ยนแปลงไปเป็นเหตุ ให้ค่าตอบแทนการใช้หรือเชื่อมต่อโครงข่ายไม่เป็นไป ตามมาตรา ๔๒ วรรคสี่และคู่กรณีไม่อาจตกลงกันได้ให้ คู่กรณีร้องขอต่อคณะกรรมการเพื่อวินิจฉัยชี้ขาด ค า วินิจฉัยของคณะกรรมการให้เป็นที่สุด

มาตรา ๔๗

เจ้าของโครงข่ายต้องแจ้งข้อมูลที่ถูกต้อง และจ าเป็นในการใช้หรือเชื่อมต่อโครงข่ายให้ผู้รับ ใบอนุญาตที่ใช้หรือเชื่อมต่อโครงข่ายทราบ เจ้าของโครงข่ายต้องไม่กระท าการใด ๆอันเป็นเหตุให้ การใช้หรือเชื่อมต่อโครงข่ายตามวรรคหนึ่งไม่สามารถใช้ งานได้ตามปกติ ในกรณีที่มีการเปลี่ยนแปลงแก้ไขโครงข่ายอันมี ผลกระทบต่อการใช้หรือเชื่อมต่อโครงข่าย เจ้าของ โครงข่ายต้องแจ้งให้ผู้รับใบอนุญาตที่ใช้หรือเชื่อมต่อ โครงข่ายทราบ แต่ถ้าการเปลี่ยนแปลงแก้ไขนั้นจะมี ผลกระทบต่อผู้ใช้บริการ ให้เจ้าของโครงข่ายประกาศให้ ทราบถึงการเปลี่ยนแปลงแก้ไขดังกล่าวเป็นการล่วงหน้า ไม่น้อยกว่าหกเดือน

มาตรา ๔๘

เพื่อประโยชน์ในการรับบริการกระจายเสียง หรือโทรทัศน์ของผู้บริโภคและการคุ้มครองรักษา สิ่งแวดล้อม ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ หรือหน่วยงานอื่น ของรัฐซึ่งครอบครองที่ดิน สถานที่ สิ่งก่อสร้าง เสาหรือ โครงสร้างอื่นในท านองเดียวกัน ซึ่งอยู่ในท าเลที่ เหมาะสมในการรับ ส่ง หรือแพร่สัญญาณเสียงหรือภาพ หากยินยอมให้ผู้รับใบอนุญาตหรือเจ้าของโครงข่ายราย ใดใช้ประโยชน์ในการติดตั้งวัสดุหรืออุปกรณ์เพื่อรับ ส่ง หรือแพร่สัญญาณเสียงหรือภาพก็ต้องยินยอมให้ผู้รับ ใบอนุญาตหรือเจ้าของโครงข่ายรายอื่นติดตั้งวัสดุหรือ อุปกรณ์เพื่อการดังกล่าวด้วยเช่นเดียวกัน ทั้งนี้เมื่อได้รับ ค่าตอบแทนอันเหมาะสมแล้ว และให้น าความในมาตรา ๔๔ มาใช้บังคับโดยอนุโลม ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ หรือหน่วยงานอื่นของรัฐซึ่ง ครอบครองตามวรรคหนึ่งอาจปฏิเสธไม่ให้ความยินยอม ให้ผู้รับใบอนุญาตหรือเจ้าของโครงข่ายรายหนึ่งรายใดใช้ ที่ดินสถานที่ สิ่งก่อสร้าง เสาหรือโครงสร้างอื่นในท านอง เดียวกันได้เฉพาะกรณีดังต่อไปนี้

(๑) การติดตั้งวัสดุหรืออุปกรณ์เพิ่มเติมจะก่อให้เกิด อันตราย หรือรบกวน หรือมีผลเป็นการลดประสิทธิภาพ ของระบบที่ติดตั้งอยู่เดิม

(๒) ก่อให้เกิดภาระหรือขัดขวางการใช้ประโยชน์ใน ทรัพย์สินเกินความจ าเป็น

มาตรา ๔๙

ในการใช้หรือเชื่อมต่อโครงข่ายระหว่างการ ประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์กับการ ประกอบกิจการโทรคมนาคม ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ และวิธีการที่คณะกรรมการร่วมตามกฎหมายว่าด้วย องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และก ากับกิจการ วิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคม ก าหนด

มาตรา ๕๐

ห้ามมิให้ผู้รับใบอนุญาตตาม พระราชบัญญัตินี้หรือผู้รับใบอนุญาตประกอบกิจการ โทรคมนาคมตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบกิจการ โทรคมนาคม หรือเจ้าของโครงข่ายให้บริการการส่งหรือ การแพร่ข่าวสารสาธารณะหรือรายการที่มีลักษณะเป็น การประกอบกิจการกระจายเสียงหรือกิจการโทรทัศน์แก่ ผู้อื่นซึ่งมิใช่เป็นผู้รับใบอนุญาตตามพระราชบัญญัตินี้

หมวด ๕ การส่งเสริมและการพัฒนากิจการกระจายเสียงและ ิจการโทรทัศน์

มาตรา ๕๑

ในการส่งเสริมและพัฒนากิจการกระจาย เสียงและกิจการโทรทัศน์ให้คณะกรรมการด าเนินการ ดังต่อไปนี้

(๑) จัดให้มีการประเมินความมีประสิทธิภาพและ ผลสมั ฤทธิ์ของการประกอบกิจการกระจายเสยีงและ กิจการโทรทัศน์ตามแผนแม่บทกิจการกระจายเสียงและ กิจการโทรทัศน์และการปฏิบัติตามพระราชบัญญัตินี้ ความหลากหลายของการแสดงความเห็น การให้บริการ คนพิการและคนด้อยโอกาส การรับเรื่องร้องเรียน โอกาส ในการเข้าสู่ตลาดของผู้ประกอบการรายใหม่

(๒) จัดให้มีการประเมินคุณภาพรายการ โดยพิจารณา ถึงประโยชน์ต่อสังคมและศีลธรรมอันดีของประชาชน

(๓) จัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นของผู้รับใบอนุญาต ผู้ ประกอบวิชาชีพและผู้บริโภคในการด าเนินการตาม (๑) และ(๒)

การประเมินตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และ วิธีการที่คณะกรรมการประกาศก าหนด ซึ่งอย่างน้อย ต้องมีการแสดงข้อเท็จจริงให้ปรากฏทั้งในเรื่อง ประสิทธิผล ประสิทธิภาพ การพัฒนาองค์กร การได้รับ การสนับสนุนจากประชาชน และรายละเอียดอื่นที่จ าเป็น

มาตรา ๕๒

ในกรณีที่คณะกรรมการเห็นว่ารายการใด เป็นประโยชน์ต่อสังคมหรือสมควรส่งเสริมให้มีการผลิต รายการ หรือผู้ประกอบการรายใดปฏิบัติตามมาตรการ ในการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิของคนพิการและคน ด้อยโอกาสตามมาตรา ๓๖ คณะกรรมการอาจพิจารณา ให้การสนับสนุนค่าใช้จ่ายจากกองทุนได้ตามหลักเกณฑ์ ที่คณะกรรมการประกาศก าหนด

หมวด ๖ การกา กบั ดูแล

มาตรา ๕๓

เมื่อมีเหตุอันควรสงสัยว่ามีการกระท าอัน เป็นการฝ่ าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามพระราชบัญญัตินี้ให้ คณะกรรมการและพนักงานเจ้าหน้าที่ มีอ านาจ ดังต่อไปนี้

(๑) เรียกให้ผู้ที่เกี่ยวข้องมาชี้แจงหรือส่งเอกสารหรือ พยานหลักฐานเพื่อประกอบการพิจารณา

(๒) มีหนังสือเรียกบุคคลใดมาให้ถ้อยค า หรือให้ส่ง เอกสารหรือวัตถุใดมาเพื่อประกอบการพิจารณาหรือเพื่อ ใช้เป็นพยานหลักฐานในการพิสูจน์การกระท าความผิด ตามพระราชบัญญัตินี้

(๓) เข้าไปในอาคารหรือสถานที่ประกอบการของผู้รับ ใบอนุญาตหรือบุคคลใดในระหว่างเวลาพระอาทิตย์ขึ้น ถึงพระอาทิตย์ตกหรือในเวลาท าการของสถานที่นั้น เพื่อ ตรวจสอบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการกระท าความผิด ค้น วัตถุที่ใช้ในการกระท าความผิด วัตถุที่มีไว้เป็นความผิด หรือวัตถุที่จะน าไปใช้กระท าความผิด รวมทั้งการกระท า ใดที่อาจเป็นการฝ่าฝืนบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัตินี้ หรือไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขที่ก าหนดในการอนุญาต

การเข้าไปในอาคารหรือสถานที่ประกอบการตาม (๓) เพื่อตรวจสอบข้อเท็จจริงของคณะกรรมการหรือพนักงาน เจ้าหน้าที่ต้องมีหมายค้นซึ่งออกโดยศาล เมื่อได้เข้าไปและลงมือท าการตรวจสอบตาม (๓) แล้วยัง ด าเนินการไม่เสร็จจะกระท าต่อไปในเวลาหลังพระ อาทิตย์ตกหรือนอกเวลาท าการของสถานที่นั้นก็ได้ ในการปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการหรือพนักงาน เจ้าหน้าที่ ให้ผู้ที่เกี่ยวข้องอ านวยความสะดวกตาม สมควร การปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการหรือพนักงาน เจ้าหน้าที่ตามมาตรานี้ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่ คณะกรรมการประกาศก าหนด

มาตรา ๕๔

ในการปฏิบัติหน้าที่ พนักงานเจ้าหน้าที่ต้อง แสดงบัตรประจ าตัวแก่บุคคลซึ่งเกี่ยวข้อง บัตรประจ าตัวพนักงานเจ้าหน้าที่ให้เป็นไปตามแบบที่ คณะกรรมการประกาศก าหนด

มาตรา ๕๕

ผู้ใดกระท าให้เกิดการรบกวนต่อการรับส่ง หรือแพร่สัญญาณเสียงหรือภาพของผู้รับใบอนุญาต ให้ พนักงานเจ้าหน้าที่มีอ านาจสั่งให้ผู้นั้นระงับการกระท า หรือแก้ไขเปลี่ยนแปลงสิ่งที่ใช้ในการกระท านั้น หรือให้ ย้ายสิ่งดังกล่าวออกไปให้พ้นเขตรบกวนหรือสั่งให้บุคคล นั้นหรือบุคคลอื่นกระท าการอย่างใดเท่าที่จ าเป็นเพื่อ แก้ไขการรบกวนนั้นได้แต่ถ้าสิ่งที่ก่อให้เกิดการรบกวน นั้นเป็นกิจการที่ได้รับอนุญาตตามกฎหมายอื่นให้ พนักงานเจ้าหน้าที่แจ้งต่อเจ้าหน้าที่ผู้มีอ านาจตาม กฎหมายนั้นพิจารณาด าเนินการเพื่อให้มีการแก้ไขต่อไป

มาตรา ๕๖

ในการปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้ ให้กรรมการและพนักงานเจ้าหน้าที่เป็นเจ้าพนักงานตาม ประมวลกฎหมายอาญา

หมวด ๗ บทก าหนดโทษ

ส่วนที่ ๑ โทษทางปกครอง

มาตรา ๕๗

โทษปรับทางปกครอง มีดังต่อไปนี้

(๑) โทษปรับทางปกครองชั้น ๑ ต้องระวางโทษปรับไม่ เกินห้าหมื่นบาท

(๒) โทษปรับทางปกครองชั้น ๒ ต้องระวางโทษปรับตั้ง แต่ห้าหมื่นบาท แต่ไม่เกินห้าแสนบาท

(๓) โทษปรับทางปกครองชั้น ๓ ต้องระวางโทษปรับตั้ง แต่ห้าแสนบาท แต่ไม่เกินห้าล้านบาท

มาตรา ๕๘

ผู้รับใบอนุญาตหรือผู้ใด

(๑) ฝ่ าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการ ประกาศก าหนดตามมาตรา ๒๔

(๒) ฝ่ าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๔๔ วรรคสอง หรือ มาตรา ๔๗ วรรคหนึ่งหรือวรรคสาม

(๓) ฝ่ าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามค าสั่งของคณะกรรมการ ตามมาตรา ๔๔ วรรคสอง ต้องระวางโทษปรับทางปกครองชั้น ๑

มาตรา ๕๙

ผู้รับใบอนุญาตหรือผู้ใด

(๑) ฝ่ าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๓๔ วรรคห้า มาตรา ๓๕ หรือมาตรา ๓๘

(๒) ฝ่ าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์วิธีการ มาตรการ หรือประกาศที่คณะกรรมการประกาศก าหนด ตามมาตรา ๓๔ วรรคหนึ่ง มาตรา ๓๖ หรือมาตรา ๔๕

(๓) ฝ่ าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามค าสั่งของคณะกรรมการ ตามมาตรา ๓๔ วรรคสี่ หรือมาตรา ๓๗ วรรคหนึ่ง ต้องระวางโทษปรับทางปกครองชั้น ๒

มาตรา ๖๐

ผู้รับใบอนุญาตหรือผู้ใด

(๑) ฝ่ าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๔๗ วรรคสอง มาตรา ๔๘ วรรคหนึ่ง หรือมาตรา ๕๐

(๒) ฝ่ าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์หรือประกาศที่ คณะกรรมการประกาศก าหนดตามมาตรา ๒๒ มาตรา ๒๓ มาตรา ๓๔ วรรคสอง หรือมาตรา ๔๒ วรรคหนึ่ง

(๓) ฝ่ าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามค าสั่งของคณะกรรมการ ตามมาตรา ๔๓ ต้องระวางโทษปรับทางปกครองชั้น ๓

มาตรา ๖๑

ถ้าการกระท าความผิดซึ่งมีโทษปรับทาง ปกครองเป็นความผิดต่อเนื่องและคณะกรรมการได้ พิจารณาสั่งลงโทษปรับทางปกครองส าหรับความผิดนั้น ผู้กระท าต้องระวางโทษปรับรายวันอีกในอัตราดังต่อไปนี้ นับแต่วันที่มีค าสั่งลงโทษปรับทางปกครองดังกล่าว ตลอดเวลาที่ยังฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามหรือจนกว่าจะ ปฏิบัติให้ถูกต้อง

(๑) กรณีโทษปรับทางปกครองชั้น ๑ ให้ปรับวันละไม่เกิน ห้าพันบาท

(๒) กรณีโทษปรับทางปกครองชั้น ๒ ให้ปรับวันละไม่เกิน สองหมื่นบาท

(๓) กรณีโทษปรับทางปกครองชั้น ๓ ให้ปรับวันละไม่เกิน ห้าหมื่นบาท ให้คณะกรรมการด าเนินการบังคับให้มีการช าระค่าปรับ รายวันทุกสิบห้าวัน

มาตรา ๖๒

ให้ส านักงานเป็นผู้รวบรวมข้อเท็จจริง เกี่ยวกับการกระท าความผิดที่มีโทษทางปกครองเพื่อ เสนอต่อคณะกรรมการพิจารณาสั่งลงโทษทางปกครอง ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะกรรมการประกาศ ก าหนด ในการพิจารณาสั่งลงโทษทางปกครอง คณะกรรมการ ต้องค านึงถึงพฤติการณ์แห่งการกระท าและความ เสียหายที่เกิดจากการกระท านั้น แต่คณะกรรมการอาจ ตักเตือนผู้กระท าความผิดโดยไม่ลงโทษปรับทาง ปกครองก็ได้ในกรณีที่คณะกรรมการเห็นว่าการกระท า นั้นมีลักษณะดังต่อไปนี้

(๑) เป็นความผิดซึ่งมีโทษปรับทางปกครองชั้น ๑

(๒) มิใช่ความผิดต่อเนื่อง

(๓) เป็นการกระท าความผิดเป็นครั้งแรกซึ่งกระท าโดยไม่ จงใจและ

(๔) ไม่ก่อให้เกิดความเสียหาย

มาตรา ๖๓

เมื่อคณะกรรมการมีค าสั่งลงโทษปรับทาง ปกครองส าหรับผู้รับใบอนุญาตผู้ใดแล้ว ในกรณีที่ เห็นสมควร คณะกรรมการอาจมีค าสั่งให้ผู้รับใบอนุญาต ผู้นั้น กระท าการหรืองดเว้นกระท าการเพื่อป้องกันมิให้ เกิดการฝ่ าฝืนหรือกระท าความผิดอย่างเดียวกันซ ้าอีกได้

มาตรา ๖๔

คณะกรรมการอาจพิจารณาสั่งพักใช้หรือ เพิกถอนใบอนุญาตได้เมื่อปรากฏข้อเท็จจริงดังต่อไปนี้

(๑) ผู้รับใบอนุญาตเพิกเฉยไม่ปฏิบัติตามค าสั่งของ คณะกรรมการตามมาตรา ๓๑ หรือมาตรา ๖๓

(๒) ผู้รับใบอนุญาตฝ่ าฝืนมาตรา ๓๗ และเป็นกรณีที่เกิด ความเสียหายอย่างร้ายแรง

(๓) ผู้รับใบอนุญาตฝ่ าฝืนหรือกระท าความผิดตาม พระราชบัญญัตินี้หรือหลักเกณฑ์หรือค าสั่งที่ก าหนด ตามพระราชบัญญัตินี้อีก หรือกรณีที่เกิดความเสียหาย อย่างร้ายแรง

(๔) ผู้รับใบอนุญาตฝ่ าฝืนหรือกระท าความผิดที่มีโทษ ทางอาญาตามพระราชบัญญัตินี้

(๕) ผู้รับใบอนุญาตต้องค าพิพากษาถึงที่สุดว่ากระท า ความผิดเกี่ยวกับงานแพร่เสียงแพร่ภาพอันเป็นการ ละเมิดลขิสทิธิ์ตามกฎหมายวา่ ดว้ยลขิสทิธิ์

(๖) ผู้รับใบอนุญาตประกอบกิจการทางธุรกิจที่เป็น บริษัทฝ่ าฝืนมาตรา ๑๕ การสั่งพักใช้ใบอนุญาตให้เป็นไปตามที่คณะกรรมการ ก าหนด แต่ต้องไม่เกินครั้งละสามสิบวัน

มาตรา ๖๕

ในกรณีที่ผู้ถูกลงโทษปรับทางปกครองไม่ ยอมช าระค่าปรับทางปกครองหรือช าระไม่ครบถ้วน ถูกต้อง ให้น าบทบัญญัติเกี่ยวกับการบังคับทางปกครอง ตามกฎหมายว่าด้วยวิธีปฏิบัติราชการทางปกครองมาใช้ บังคับโดยอนุโลม

ส่วนที่ ๒ โทษอาญา

มาตรา ๖๖

ผู้ใดใช้คลื่นความถี่ส าหรับการประกอบ กิจการกระจายเสียงหรือกิจการโทรทัศน์หรือประกอบ กิจการกระจายเสียงหรือกิจการโทรทัศน์หรือให้บริการ นอกเหนือจากกิจการกระจายเสียงหรือกิจการโทรทัศน์ โดยไม่ได้รับอนุญาต ต้องระวางโทษจ าคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินห้าล้านบาท หรือทั้งจ าทั้งปรับ และปรับ วันละไม่เกินห้าหมื่นบาทตลอดระยะเวลาที่ยังฝ่ าฝืน

มาตรา ๖๗

ผู้รับใบอนุญาตผู้ใดฝ่ าฝืนมาตรา ๙ หรือ ประกาศของคณะกรรมการที่ออกตามมาตรา ๓๑ หรือ มาตรา ๓๒ ต้องระวางโทษจ าคุกไม่เกินสามปีหรือปรับ ไม่เกินสามล้านบาท หรือทั้งจ าทั้งปรับ และปรับวันละไม่ เกินสามหมื่นบาทตลอดระยะเวลาที่ยังฝ่าฝืน

มาตรา ๖๘

ผู้รับใบอนุญาตผู้ใดกระท าเพื่อให้เกิดการ รบกวนต่อการรับส่งหรือแพร่สัญญาณเสียงหรือภาพของ ผู้รับใบอนุญาตรายอื่น ต้องระวางโทษจ าคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินสามล้านบาท หรือทั้งจ าทั้งปรับ และปรับ วันละไม่เกินสามหมื่นบาทตลอดระยะเวลาที่ยังฝ่าฝืน

มาตรา ๖๙

ผู้ใดกระท าให้เกิดการรบกวนต่อการรับส่ง หรือแพร่สัญญาณเสียงหรือภาพของผู้รับใบอนุญาต ต้องระวางโทษจ าคุกไม่เกินสามปีหรือปรับไม่เกินหก หมื่นบาท หรือทั้งจ าทั้งปรับ และปรับวันละไม่เกินหนึ่ง หมื่นบาทตลอดระยะเวลาที่ยังฝ่ าฝืน

มาตรา ๗๐

ผู้ใดผลิต น าเข้าจ าหน่ายหรือมีไว้เพื่อ จ าหน่ายหรือรับติดตั้งเครื่องรับ เครื่องมือ หรืออุปกรณ์ เพื่อให้บุคคลอื่นน าไปใช้รับหรือแปลงสัญญาณในการรับ รายการของกิจการกระจายเสียงหรือกิจการโทรทัศน์ แบบบอกรับเป็นสมาชิก โดยไม่ได้รับอนุญาตจาก คณะกรรมการ ต้องระวางโทษจ าคุกไม่เกินสองปีหรือ ปรับไม่เกินสองล้านบาท หรือทั้งจ าทั้งปรับ บทบัญญัติมาตรานี้มิให้ใช้บังคับกับการมีหรือใช้ เครื่องรับ เครื่องมือ หรืออุปกรณ์ตามวรรคหนึ่ง เพื่อการ ศึกษาวิจัยตามที่ได้รับอนุญาตจากคณะกรรมการ

มาตรา ๗๑

ผู้ใดขัดขวางหรือไม่อ านวยความสะดวกใน การปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการหรือพนักงาน เจ้าหน้าที่ตามมาตรา ๕๓ ต้องระวางโทษจ าคุกไม่เกิน หนึ่งเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท หรือทั้งจ าทั้งปรับ ในกรณีที่ปรากฏว่ามีการกระท าความผิดอย่างใดอย่าง หนึ่งตามพระราชบัญญัตินี้ให้ถือว่าคณะกรรมการเป็น ผู้เสียหายตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา บทบัญญัติมาตรานี้ไม่เป็นการตัดสิทธิผู้เสียหายที่แท้จริง ในการใช้สิทธิฟ้องร้องหรือด าเนินการใด ๆ ตามกฎหมาย ต่อผู้กระท าความผิดนั้น

มาตรา ๗๒

ในกรณีผู้ที่กระท าความผิดเป็นนิติบุคคล ถ้าการกระท าความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการ กระท าการหรืองดเว้นกระท าการอันเป็นหน้าที่ของ กรรมการผู้จัดการ ผู้จัดการหรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบใน การด าเนินงานของนิติบุคคลนั้น ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่ บัญญัติไว้ส าหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย เว้นแต่พิสูจน์ได้ว่า การกระท านั้นได้กระท าโดยตนมิได้รู้เห็นหรือยินยอมด้วย

บทเฉพาะกาล

มาตรา ๗๓

ในวาระเริ่มแรกเพื่อประโยชน์ในการ ประชาสัมพันธ์ของรัฐ มิให้น าบทบัญญัติในหมวด ๑ การ ประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์หมวด ๒ รายการของกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ หมวด ๖ การก ากับดูแล และหมวด ๗ บทก าหนดโทษ เว้นแต่มาตรา ๒๐ มาตรา ๓๕ มาตรา ๓๖ และมาตรา ๓๘ มาใช้บังคับแก่กรมประชาสัมพันธ์ในฐานะหน่วยงาน ประชาสัมพันธ์ของรัฐและให้ด าเนินกิจการกระจายเสียง และกิจการโทรทัศน์ต่อไปได้ตามขอบเขตการให้บริการที่ มีอยู่เดิม ทั้งนี้จนกว่าจะมีแผนแม่บทกิจการกระจาย เสียงและกิจการโทรทัศน์ เมื่อแผนแม่บทกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ ใช้บังคับแล้ว ให้คณะกรรมการแจ้งลักษณะ ประเภท และขอบเขตการด าเนินกิจการของกรมประชาสัมพันธ์ ตามที่ก าหนดในแผนแม่บทกิจการกระจายเสียงและ กิจการโทรทัศน์ให้รัฐมนตรีที่มีอ านาจก ากับดูแลกรม ประชาสัมพันธ์ทราบเพื่อปฏิบัติให้สอดคล้องกับแผน แม่บทกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์

มาตรา ๗๔

ให้ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจและหน่วยงาน อื่นของรัฐ ที่ประกอบกิจการกระจายเสียงหรือกิจการ โทรทัศน์อยู่ในวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ประกอบ กิจการนั้นได้ต่อไปจนถึงวันที่ก าหนดในแผนแม่บท กิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ใช้บังคับโดย หากส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ หรือหน่วยงานอื่นของรัฐ ประสงค์จะประกอบกิจการต่อไปให้จัดท าแผนประกอบ กิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์เพื่อขอรับ ใบอนุญาตจากคณะกรรมการและให้คณะกรรมการ ออกใบอนุญาตประกอบกิจการให้แก่ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ หรือหน่วยงานอื่นของรัฐนั้นโดยค านึงถึง ความจ าเป็นของการประกอบกิจการและการใช้คลื่น ความถี่

มาตรา ๗๕

ผู้ใดได้รับอนุญาต สัมปทานหรือสัญญา จากส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ หรือหน่วยงานอื่นของรัฐ เพื่อประกอบกิจการกระจายเสียงหรือกิจการโทรทัศน์อยู่ ในวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ให้ผู้นั้นมีสิทธิประกอบ กิจการกระจายเสียงหรือกิจการโทรทัศน์ตามที่ได้รับ อนุญาต สัมปทานหรือสัญญานั้นต่อไปจนกว่าการ อนุญาต สัมปทาน หรือสัญญานั้นจะสิ้นสุด ให้คณะกรรมการออกใบอนุญาตประกอบกิจการตาม พระราชบัญญัตินี้ให้แก่ผู้ได้รับอนุญาตสัมปทานหรือ สัญญาจากส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจและหน่วยงานอื่น ของรัฐตามลักษณะ ประเภท และขอบเขตของการ ประกอบกิจการที่ได้รับอนุญาต สัมปทานหรือสัญญา โดยใบอนุญาตประกอบกิจการดังกล่าวให้มีอายุตาม ระยะเวลาที่เหลืออยู่ของการอนุญาตสัมปทานหรือ สัญญานั้น และให้ได้รับยกเว้นค่าธรรมเนียมใบอนุญาต ตามมาตรา ๑๙ มิให้น าบทบัญญัติในมาตรา ๑๖ มาตรา ๑๗ มาตรา ๑๘ มาตรา ๑๙ และมาตรา ๒๒ แห่งพระราชบัญญัตินี้มาใช้ บังคับกับผู้ได้รับใบอนุญาตตามวรรคสอง

มาตรา ๗๖

ให้กระทรวงการคลังน ารายได้เป็นมูลค่า เท่ากับร้อยละสองของรายได้ที่หน่วยราชการ รัฐวิสาหกิจ หรือหน่วยงานอื่นของรัฐต้องน าส่งกระทรวงการคลังจาก การให้อนุญาต สัมปทาน หรือสัญญาเพื่อประกอบ กิจการกระจายเสียงหรือกิจการโทรทัศน์ที่มีอยู่ก่อนวันที่ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ ใช้บังคับ ส่งเข้ากองทุน ทั้งนี้จนกว่าการอนุญาต สัมปทานหรือสัญญานั้นจะสิ้นสุดลง

มาตรา ๗๗

เมื่อพ้นก าหนดห้าปีนับแต่วันที่ พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ให้คณะกรรมการพิจารณา ทบทวนระยะเวลาสูงสุดในการโฆษณาและการบริการ ธุรกิจตามมาตรา ๘ แต่ต้องไม่เกินระยะเวลาสูงสุดใน การโฆษณาและการบริการธุรกิจตามที่ก าหนดในมาตรา ๒๓ วรรคสอง

มาตรา ๗๘

ในระหว่างที่การจัดตั้งองค์กรของรัฐที่เป็น อิสระเพื่อท าหน้าที่จัดสรรคลื่นความถี่และก ากับการ ประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์และ กิจการโทรคมนาคมตามมาตรา ๔๗ ของรัฐธรรมนูญแห่ง ราชอาณาจักรไทยยังไม่แล้วเสร็จให้คณะกรรมการ กิจการโทรคมนาคมแห่งชาติตามพระราชบัญญัติองค์กร จัดสรรคลื่นความถี่และก ากับกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. ๒๕๔๓ ปฏิบัติหน้าที่คณะกรรมการตามพระราชบัญญัตินี้เป็น การชั่วคราว โดยให้มีอ านาจหน้าที่ดังต่อไปนี้

(๑) ด าเนินการตามที่ก าหนดไว้ในบทเฉพาะกาลให้ เป็นไปด้วยความเรียบร้อย

(๒) ด าเนินการเพื่อให้ผู้ประกอบกิจการ วิทยุกระจายเสียงชุมชนและกิจการที่ไม่ใช้คลื่นความถี่ รับใบอนุญาตประกอบกิจการบริการชุมชนและกิจการที่ ไม่ใช้คลื่นความถี่เป็นการชั่วคราวไปพลางก่อนตามที่ คณะกรรมการก าหนด โดยใบอนุญาตประกอบกิจการ บริการชุมชนชั่วคราวและกิจการที่ไม่ใช้คลื่นความถี่ ให้มี อายุไม่เกินหนึ่งปี

(๓) ประกาศก าหนดสัดส่วนรายการและให้ความ เห็นชอบผังรายการของผู้ได้รับใบอนุญาตตาม (๒)

(๔) ควบคุมดูแลให้การส่งหรือการแพร่เสียงของผู้ได้รับ ใบอนุญาตตาม (๒) เป็นไปตามขนาดก าลังส่งที่ก าหนด และครอบคลุมพื้นที่ที่ได้รับอนุญาต

มาตรา ๗๙

ในการปฏิบัติหน้าที่ตามมาตรา ๗๘ ให้ คณะกรรมการมีอ านาจแต่งตั้งคณะอนุกรรมการ วิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์คณะหนึ่ง ประกอบด้วย

(๑) ปลัดส านักนายกรัฐมนตรีเป็นประธานอนุกรรมการ

(๒) ปลัดกระทรวงกลาโหมหรือผู้แทน ปลัดกระทรวง ศึกษาธิการหรือผู้แทนเลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา หรือผู้แทน อธิบดีกรมประชาสัมพันธ์หรือผู้แทน อธิบดี กรมการปกครองหรือผู้แทน เลขาธิการคณะกรรมการ วัฒนธรรมแห่งชาติหรือผู้แทน และผู้บัญชาการต ารวจ แห่งชาติหรือผู้แทน เป็นอนุกรรมการ

(๓) กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิจ านวนหกคนซึ่งคณะรัฐมนตรี แต่งตั้งจากผู้มีความรู้ความเชี่ยวชาญและประสบการณ์ ทางด้านนิเทศศาสตร์วารสารศาสตร์หรือสื่อสารมวลชน จ านวนสามคน กฎหมายมหาชนจ านวนสองคน เทคโนโลยีการสื่อสาร หรือด้านอื่นที่เกี่ยวข้องและเป็น ประโยชน์ต่อการก ากับกิจการจ านวนหนึ่งคน เป็น อนุกรรมการ

(๔) กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งคณะกรรมการแต่งตั้งจาก ประธานสภาสถาบัน นักวิชาการด้านสื่อสารมวลชนแห่ง ประเทศไทยหรือผู้แทน นายกสมาคมนักข่าววิทยุและ โทรทัศน์ไทยหรือผู้แทน นายกสมาพันธ์สมาคมวิชาชีพ วิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์หรือผู้แทน ประธานสภาองค์การพัฒนาเด็กและเยาวชนหรือผู้แทน ประธานคณะกรรมการประสานงานองค์กรพัฒนาเอกชน หรือผู้แทน ประธานสมาคมสภาคนพิการทุกประเภทแห่ง ประเทศไทยหรือผู้แทน และประธานสหพันธ์องค์กร ผู้บริโภคหรือผู้แทน เป็นอนุกรรมการ ให้เลขาธิการคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ เป็นอนุกรรมการและเลขานุการ ให้คณะอนุกรรมการตามวรรคหนึ่งมีหน้าที่ในการเสนอ ความเห็นและปฏิบัติการอื่นตามที่คณะกรรมการ มอบหมาย โดยให้มีอ านาจหน้าที่ตามมาตรา ๕๓ ด้วย ให้น ากฎหมายว่าด้วยวิธีปฏิบัติราชการทางปกครองใน ส่วนที่เกี่ยวกับการประชุม การปฏิบัติหน้าที่และการพ้น จากต าแหน่ง มาใช้บังคับแก่คณะอนุกรรมการโดย อนุโลม

มาตรา ๘๐

ให้การปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการ กิจการโทรคมนาคมแห่งชาติตามมาตรา ๗๘ และ คณะอนุกรรมการวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ ตามมาตรา ๗๙ สิ้นสุดลงนับแต่วันที่คณะกรรมการของ องค์กรของรัฐที่เป็นอิสระตามมาตรา ๔๗ ของ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยเข้ารับหน้าที่แต่ทั้งนี้ ไม่กระทบกระเทือนถึงกิจการที่คณะกรรมการกิจการ โทรคมนาคมแห่งชาติและคณะอนุกรรมการ วิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ได้สั่งการอนุญาต หรือด าเนินการใดในระหว่างที่ปฏิบัติหน้าที่ตามบท เฉพาะกาลนี้ ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ พลเอก สุรยุทธ์จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี

พระราชบัญญัติ การประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการ โทรทัศน์ พ.ศ. ๒๕๕๑ 2008 년 방송·텔레비전 사업법

ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร. ให้ไว้ณ วันที่ ๒๖ กุมภาพันธ์พ.ศ. ๒๕๕๑ เป็นปีที่ ๖๓ ในรัชกาลปัจจุบัน พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระ บรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่าโดยที่เป็นการสมควรมีกฎหมายว่าด้วยการ ประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ พระราชบัญญัตินี้มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการ จ ากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๓๒ มาตรา ๓๓ มาตรา ๓๕ มาตรา ๓๖ มาตรา ๔๑ มาตรา ๔๓ มาตรา ๔๕ มาตรา ๔๖ และ มาตรา ๔๗ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระท าได้โดยอาศัยอ านาจตามบทบัญญัติ แห่งกฎหมาย จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้น ไว้โดยค าแนะน าและยินยอมของสภานิติบัญญัติ แห่งชาติดังต่อไปนี้ 푸미폰 아둔야뎃 국왕 2008 년 2 월 26 일 재위 63 년 푸미폰 아둔야뎃 국왕께서 방송·텔레비전 사업 관련 법률을 제정하는 것이 마땅하다 고 왕명을 내리신 바 이 법에는 태국 왕국 「헌법」 제 29 조, 제 32 조, 제 33 조, 제 35 조, 제 36 조, 제 41 조, 제 43 조, 제 45 조, 제 46 조 및 제 47 조 와 관련된 개인의 권리와 자유를 제한하는 특정 조항이 포함되어 있으며 해당 제한은 법률의 규정에 따른 경우로 한정된다. 이에 국왕께서는 의회의 조언과 동의를 받 아 다음의 법률을 제정하는 바이다.

제 1 조

이 법은 「2008 년 방송·텔레비전 사업법」이라 한다.

제 2 조

이 법은 관보에 고시한 다음 날부터 시행한다.

제 3 조

다음 각 항의 법률은 폐지한다.

(1) 1955 년 라디오 및 텔레비전 방송법

(2) 1959 년 라디오 및 텔레비전 방송법(제 2 권)

(3) 1978 년 라디오 및 텔레비전 방송법(제 3 권)

(4) 1987 년 라디오 및 텔레비전 방송법(제 4 권)

제 4 조

이 법에서 사용하는 용어의 뜻은 다 음과 같다. "방송사업"이란 「주파수 할당, 라디오, 텔 레비전 방송사업 및 전기통신사업 감독기관 에 관한 법률」에 따른 방송사업을 말한다. "텔레비전사업"이란 「주파수 할당, 라디 오, 텔레비전 방송사업 및 전기통신사업 감 독기관에 관한 법률」에 따른 텔레비전사업 을 말한다. "주파수를 사용하는 방송·텔레비전 사업"이 란 「주파수 할당, 라디오, 텔레비전 방송사 업 및 전기통신사업 감독기관에 관한 법 률」에 따라 주파수 할당을 요청해야 하는 방송·텔레비전 사업을 말한다. "주파수를 사용하지 아니하는 방송·텔레비 전 사업"이란 「주파수 할당, 라디오, 텔레 비전 방송사업 및 전기통신사업 감독기관에 관한 법률」에 따라 주파수 할당을 요청하 지 아니하는 방송·텔레비전 사업을 말한다. "네트워크"란 방송사업자나 텔레비전 사업 자가 공공 뉴스나 프로그램을 한 지점에서 수신기까지 전달하기 위하여 사용하는 음성 이나 시각 신호를 방송·중계하는 방송 장비 들의 접속시스템을 말한다. 이 접속시스템 은 도체선, 주파수, 광섬유, 전자파 또는 그 밖의 도체를 통해 작동할 수 있다. "네트워크 소유자"란 방송사업자 또는 텔레 비전사업자인지에 상관없이 자체 네트워크 를 보유하고 있거나 네트워크사업을 운영할 권리를 가진 자를 말한다. "방송국"이란 방송·텔레비전 사업 운영의 공익 뉴스나 프로그램을 자체 네트워크 또 는 다른 자 소유의 네트워크를 통해 전송하 는 장소를 말한다. "자금"이란 「주파수 할당, 라디오, 텔레비 전 방송사업 및 전기통신사업 감독기관에 관한 법률」에 따른 기금으로서, 공익을 위 한 방송·텔레비전 사업 발전기금을 말한다. "방송·텔레비전 사업 기본계획"이란 「주파 수 할당, 라디오, 텔레비전 방송사업 및 전 기통신사업 감독기관에 관한 법률」에 따른 방송·텔레비전 사업 기본계획을 말한다. "주파수"란 인공 도체 없이 공중에서 전파 되는 300 만메가헤르츠 이하의 주파수를 가 진 전파 또는 전자파가 되는 헤르츠파를 말 한다. "위원회"란 「주파수 할당, 라디오, 텔레비 전 방송사업 및 전기통신사업 감독기관에 관한 법률」에 따른 국가 방송·텔레비전 사 업위원회를 말한다. "위원"이란 국가 방송·텔레비전 사업위원회 위원을 말한다. "사무국"이란 국가 방송·텔레비전 사업위원 회 사무국을 말한다. "사무총장"이란 국가 방송·텔레비전 사업위 원회 사무총장을 말한다. "담당관"이란 이 법에 따른 직무를 수행하 기 위하여 국가 방송·텔레비전 사업위원회 가 임명한 사람을 말한다.

제 5 조

위원회는 이 법을 실행하기 위하여 담당관을 임명하고 이를 고시할 권한이 있 다. 이 법에 따라 위원회가 고시할 때는 관계자 의 의견을 들어야 한다. 해당 고시는 관보에 게재한 날부터 효력이 있다.

제 6 조

총리는 이 법의 시행을 책임지고 관 리한다.

제 1 장 방송·텔레비전 사업 운영

제 7 조

방송·텔레비전 사업을 운영하는 자 는 이 장의 조항에 따라 위원회로부터 허가 증을 받아야 한다. 위원회는 이 법에 따라 방송·텔레비전 사업 에서 제외되는 사업의 특성을 정할 권한이 있다.

제 8 조

이 법에 따른 허가증 신청인은 태국 국적이어야 하며 허가증이 정지 중이거나 또는 허가증이 취소된 후 3 년이 경과하지 않은 상태에 있지 아니하여야 한다.

제 9 조

방송·텔레비전 사업 허가증은 해당 허가를 받은 자의 독점적인 권리이며 양도 할 수 없다. 방송·텔레비전 사업 허가증을 받은 자는 직 접 사업을 운영하여야 한다. 프로그램 진행 을 위해 다른 자에게 시간을 배분하는 것은 법에 의거하여 위원회가 정한 규칙과 절차 에 따라 이행할 수 있다.

제 1 절 주파수를 사용하는 방송·텔레비전 사업

제 10 조

주파수를 사용하는 방송·텔레비전 사업 허가증은 다음 각 항과 같이 세 가지 종류가 있다.

(1) 공공서비스사업 허가증은 공공서비스 제공을 주요 목적으로 하는 사업의 운영을 위해 부여된 허가증으로 이 허가증은 세 가 지 종류로 구분된다.

(ㄱ) 제 1 종 공공서비스사업 허가증은 지 식, 교육, 종교, 예술문화, 과학 기술 및 환 경, 농업 및 그 밖의 직업, 건강, 보건, 운동 또는 국민의 삶의 질 증진을 주요 목적으로 하는 방송·텔레비전 사업에 대하여 발급한 다. (ㄴ) 제 2 종 공공서비스사업 허가증은 국 가안보 또는 공공 안전을 주요 목적으로 하 는 방송·텔레비전 사업에 대하여 발급한다. (ㄷ) 제 3 종 공공서비스사업 허가증은 정 부와 국민, 국회와 국민 간의 상호 이해를 증진하고 국왕을 국가의 원수로 하는 민주 주의체제에 대해 국민에게 널리 알리고 교 육하는 것을 장려하기 위한 정보 보급 및 장 애인, 소외계층 또는 공익 활동에 관심 있는 집단을 위한 공익적 정보서비스 또는 그 밖 의 공익적 정보서비스의 제공을 주요 목적 으로 하는 방송·텔레비전 사업에 대하여 발 급한다.

(2) 지역사회서비스사업 허가증은 공익사 업과 동일한 목적을 가진 사업에 대한 허가 증이며, 서비스 대상자인 공동체 또는 지역 사회의 필요에 유익하여야 한다.

(3) 상업운영 허가증은 사업상 영리를 목적 으로 하는 사업 허가증으로 위원회가 정한 규칙에 따라 최소 세 가지 종류로 구분된다.

(ㄱ) 국가 수준의 상업운영 허가증은 전국 적 범위로 서비스를 제공하는 방송·텔레비 전 사업에 대하여 발급한다. (ㄴ) 지역 수준의 상업운영 허가증은 여러 도(道)를 범위로 서비스를 제공하는 방송· 텔레비전 사업에 대하여 발급한다. (ㄷ) 지방 수준의 상업운영 허가증은 도 (道)를 범위로 서비스를 제공하는 방송·텔 레비전 사업에 대하여 발급한다.

제 11 조

공공서비스사업 허가증 신청인은 다음 각 항과 같아야 한다.

(1) 부, 청, 국, 「헌법」에 따른 독립기관, 지방자치단체, 공공기관 또는 법적 의무가 있거나 위원회가 고시하여 정한 규칙에 따 라 방송·텔레비전 사업을 운영해야만 하며 국영기업이 아닌 그 밖의 정부기관이어야 한다.

(2) 협회, 재단 또는 위원회가 정한 특성과 원칙에 따라 공익사업 운영에 적합하고 비 영리기관으로서, 공익을 운영하기 위한 목 적으로 태국 법률에 따라 설립된 그 밖의 법 인이어야 한다.

(3) 위원회가 정한 특성과 원칙에 따라 학 습 및 교육 목적이나 사회에 지식을 전파하 기 위한 고등교육기관이어야 한다.

제 12 조

지역사회서비스사업 허가증 신청 인은 정부기관이 아니고 비영리 공익사업을 목적으로 하며 태국 법률에 따라 설립된 협 회, 재단 및 그 밖의 법인 또는 지역사회의 강화를 위하여 결속한 법인 외의 지역주민 단체여야 하며 위원회가 고시하여 정한 특 성에 따라 지역사회서비스사업에 적합하여 야 한다. 제 1 문단의 특성을 정할 때 위원회는 방송· 텔레비전 사업 과점의 방지와 더불어 이 사 업이 지역사회 또는 지방 주민의 다양한 필 요를 충족시킬 수 있도록 해당 사업의 효율 적인 촉진에 대한 이점을 고려한다.

제 13 조

상업운영 허가증 신청인은 태국 법 률에 따라 설립된 법인이어야 하며 다음과 같은 자격을 가지고 있어야 한다.

(1) 지역 및 지방 수준의 상업운영 허가증 신청인은 경우에 따라 해당 지역 또는 지방 에 주소지를 둔 자본지분 주주 또는 투자자 가 3 분의 1 이상이고 안정적인 재무 상태 와 회계감사시스템 및 위원회가 고시하여 정한 사업 안정성을 보장하는 그 밖의 특성 을 갖춘 법인이어야 한다.

(2) 제(1)항 외에 다른 유형의 허가증 신청 인은 방송·텔레비전 사업 운영을 주요 목적 으로 하는 국영기업 또는 태국 법률에 따라 설립된 법인이어야 한다.

제 14 조

제 11 조제(2)항과 제(3)항 및 제 12 조에 따른 허가증 신청인은 제 8 조에서 정한 자격을 갖추고 결격사유가 없어야 하 며 다음 각 항에 해당하는 자격을 갖추고 결 격사유가 없어야 한다.

(1) 신청인에 대하여 구속력 있는 방식으로 행위할 권한을 가진 자는 태국 국적이어야 한다.

(2) 위원 또는 위원이었던 허가 신청인에 대하여 구속력 있는 방식으로 행위할 권한 을 가진 자 또는 사업 운영으로 인하여 허가 증이 취소되고 허가증이 취소된 후 3 년이 경과하지 않은 다른 허가취득자에 대하여 구속력 있는 방식으로 행위할 권한을 가진 자여서는 아니 된다.

제 15 조

제 13 조에 따른 허가증 신청인은 제 8 조와 제 14 조에서 정한 자격을 갖추고 결격사유가 없어야 하며 다음 각 항에 해당 하는 자격을 갖추어야 한다.

(1) 태국 국적인 주주 또는 투자자는 같은 법인 총 자본금의 4 분의 3 이상을 보유하 는 법인이어야 한다.

(2) 법률이나 정관 또는 약정에 따라 태국 국적자가 같은 법인의 총 의결권 중 4 분의 3 이상을 보유하여야 한다. 제 13 조에 따른 허가증 신청인이 회사인 경 우, 전체 이사의 4 분의 3 이상 및 해당 법인 에 대하여 구속력 있는 방식으로 행위할 권 한을 가진 이사는 태국 국적이어야 한다. 제 13 조에 따른 허가증 신청인이 유한합자 회사 또는 등록합자회사인 경우, 업무집행 사원 또는 관리자는 태국 국적이어야 한다. 위원회는 허가증 신청인이 수행할 사업에 대한 외국인의 지배를 금지하는 조항을 정 할 수 있다. 이 조항의 목적상 태국 국적자는 「외국인 의 사업에 관한 법률」에 따른 외국인이 아 닌 자를 말하며 해당 태국 국적자가 가진 지 분은 1 주당 1 개의 의결권을 갖는다.

제 16 조

허가증 신청 및 허가는 위원회가 정한 원칙, 절차 및 조건에 따라야 한다. 허 가증 신청인은 라디오나 텔레비전 방송에 사용할 방송국, 시스템 및 절차를 명시하며 방송·텔레비전 사업 서비스 계획을 위원회 에 제출하여야 한다. 제 1 문단에 따른 공고는 방송·텔레비전 사 업의 기본계획에 부합하여야 하며 「주파수 할당, 라디오, 텔레비전 방송사업 및 전기통 신사업 감독기관에 관한 법률」에 따른 주 파수 계획에 부합하여야 한다.

제 17 조

주파수를 사용하는 방송·텔레비전 사업 허가증을 발급하려면, 위원회는 다음 각 항과 같은 사업의 임무 또는 목적을 고려 하여 「주파수 할당, 라디오, 텔레비전 방송 사업 및 전기통신사업 감독기관에 관한 법 률」에 따른 주파수 할당 비율을 준수하여 야 한다

(1) 공공서비스사업 허가증을 발급하려면 법적 의무 또는 공익 제공의 필요성을 고려 하여 정부 부문에 할당된 주파수를 사용한 다.

(2) 지역사회서비스사업 허가증을 발급하 려면 지역사회의 다양한 요구, 준비 상태 및 공익을 고려하여 공공 부문에 할당된 주파 수를 사용한다.

(3) 상업운영 허가증을 발급하려면 자유롭 고 공정한 경쟁 촉진과 적절한 비율의 뉴스 및 정보를 제공하는 사업의 설립 지원을 고 려하여 민간 부문에 할당된 주파수를 사용 한다.

제 18 조

방송·텔레비전 사업 허가증은 위원 회가 정한 원칙을 준수하고 투자 가치가 있 는 기간, 사업의 목적, 신청인의 사업 개발 계획, 소비자의 요구, 사업자 간의 공정한 경쟁 및 프로그램 품질평가 결과를 고려한 다. 방송사업 허가증의 유효기간은 7 년 이하여 야 한다. 텔레비전사업 허가증의 유효기간은 15 년 이하여야 한다. 제 2 문단의 허가 유효기간이 만료된 경우, 허가증 취득자는 만료일부터 최소 90 일 이 상 1 년 이내에 새 허가증을 신청하여야 한 다. 다만, 제 3 문단의 허가 유효기간이 만료 된 경우, 허가증 취득자는 만료일부터 최소 90 일 이상 2 년 이내에 새 허가증을 신청하 여야 한다. 제 4 문단에 따른 요청을 받은 경우, 위원회 는 요청을 받은 날부터 60 일 이내에 명령 을 내려야 한다. 이 기간 동안 허가증 취득 자는 위원회가 불허가 명령을 내릴 때까지 는 사업을 계속 운영할 수 있다. 위원회가 허가를 불승인하는 경우, 사업 운영에 대한 수수료가 비례적으로 부과된다. 제 4 문단 및 제 5 문단에 따른 허가증 신청 과 심사는 위원회가 고시하여 정한 규칙, 절 차, 조건 및 기간에 따라야 한다.

제 19 조

허가증에 대한 수수료는 「주파수 할당, 라디오, 텔레비전 방송사업 및 전기통 신사업 감독기관에 관한 법률」에 의거하여 위원회가 정한 바에 따른다. 허가증 취득자는 주파수 대역 사용 및 각종 유형의 방송·텔레비전 사업에 대해 위원회 가 결정한 비율에 따라 매년 수수료를 납부 하여야 한다. 제 2 문단의 수수료는 사업자와 서비스 이 용자 간에 부당하게 부담되지 아니하도록 한다. 이를 위해서 위원회는 공익, 비용효과 성, 결핍 그리고 자원 할당 방식을 고려한 다. 위원회는 이 법에 따른 허가증 신청인 또는 취득자에게 제 1 문단과 제 2 문단에 따라 허 가 수수료를 감면할 수 있다. 이 경우 해당 인은 본인의 방송·텔레비전 사업에서 공익 뉴스와 정보의 비율이 위원회가 정한 비율 을 초과한다는 것을 위원회에 증명하여야 한다. 제 4 문단을 실행하기 위한 원칙과 절차는 위원회가 정하는 규정에 따른다.

제 20 조

방송·텔레비전 사업에 홍보국이 공 익사업 허가증 1 종과 3 종을 소유하는 경우 에는 광고를 통해 수입을 얻을 수 없다. 다 만, 정부기관 또는 국영기업, 협회, 재단 또 는 비영리기관으로서, 공익을 추구하기 위 한 목적으로 그 밖의 법인의 업무나 사업에 관한 광고 또는 정부를 홍보하는 경우 또는 관련 제품의 특성, 장점 또는 품질을 직접적 또는 간접적으로 광고하지 아니하고 조직, 회사 및 기업의 이미지를 다루는 홍보를 통 해 발생하는 수입은 제외한다. 이는 위원회 가 정하는 원칙에 따른다. 방송·텔레비전 사업의 제 2 종 공익사업 허 가증 취득자는 영리를 주요 목적으로 할 수 없으며 사업 운영에 충분한 수입을 광고로 얻을 수 있다.

제 21 조

방송·텔레비전 사업을 하면서 지역 사회서비스사업 허가증을 소지한 자는 광고 를 통해 수입을 얻을 수 없다.

제 22 조

위원회는 사업 허가증 취득자가 위 원회가 정한 비율에 따라 기금에 연간 지불 금을 납부하도록 요구한다. 이 비율은 허가 된 사업의 직접 및 간접 광고로 인한 수입과 방송·텔레비전 사업과 관련된 그 밖의 수입 을 공제하기 전 총수입의 2 퍼센트를 초과 할 수 없다. 청약사업을 하는 경우, 제 1 문단에 따른 연 간 수입은 가입비와 직간접 광고로 인한 수 입 및 사업과 관련된 그 밖의 서비스 요금을 공제하기 전의 금액을 기준으로 계산된다. 이는 위원회에서 발표하는 원칙에 따른다

제 23 조

상업적으로 허가된 사업은 상업 서 비스 광고, 가입비 부과 또는 그 밖의 방법 을 통해 수입을 얻을 수 있다. 제 1 문단에 따라 광고와 상업 서비스를 포 함하는 경우, 위원회는 광고 및 상업 서비스 의 형태와 최대 기간에 대한 원칙을 정한다. 다만, 광고와 상업 서비스는 시간당 12 분 30 초를 초과할 수 없으며 하루 총 광고 시 간은 평균 시간당 10 분을 초과할 수 없다. 제 1 문단에 따른 사업에서 가입 또는 그 밖 의 서비스 요금을 부과하는 경우, 제 28 조 의 규정을 준용한다. 허가증 취득자는 제 3 문단에서 위원회가 정 한 규정에 따라 가입비 또는 서비스 요금 및 서비스 제공 조건을 변경할 수 있다. 다만, 이는 기존 계약에서 가입자의 권리에 영향 을 미치지 아니한다. 제 2 문단과 제 3 문단에 따른 규정은 서비 스 제공 비용과 다양한 유형의 허가증 취득 자 간 경쟁 공정성 및 허가증 취득자와 소비 자에 대한 공정성을 고려하여야 한다.

제 24 조

허가증 취득자는 위원회가 정한 원 칙에 따라 실제적이며 정확한 수입 및 지출 이 명시된 재무상태보고서를 위원회에 제출 한다.

제 2 절 주파수를 사용하지 아니하는 방송·텔레비전 사업

제 25 조

주파수를 사용하지 아니하는 방송 ·텔레비전 사업자는 제 8 조, 제 14 조 및 제 15 조에서 정한 자격을 갖추어야 하며 결격 사유가 없어야 한다. 신청인의 자격과 결격사유를 파악할 때는 제 1 절의 주파수를 사용하는 방송·텔레비 전 사업의 원칙과 절차를 준용한다.

제 26 조

제 18 조와 제 19 조의 규정은 제 25 조에 따른 방송·텔레비전 사업 허가증 발 급에 준용된다.

제 27 조

주파수를 사용하지 아니하는 방송 ·텔레비전 사업을 감독하기 위하여 가입비 또는 서비스 요금 부과 여부와 상관없이 위 원회는 다음 각 항에 대한 원칙을 공표할 권 한이 있다.

(1) 프로그램 비중 및 일정

(2) 소득 창출

(3) 방송 완료 프로그램의 녹화 및 보관기 간

제 28 조

주파수를 사용하지 아니하는 방송 ·텔레비전 사업 허가증 취득자가 가입비나 서비스 요금을 부과하는 경우, 위원회는 서 비스 요금, 광고와 상업 서비스의 최대 기간 및 서비스 제공 조건에 대한 원칙을 정한다. 제 1 문단에 따른 광고 및 사업 서비스를 통 한 수익과 관련하여 위원회는 광고 및 사업 서비스의 최대 시간을 정한다. 광고 및 사업 서비스의 최대 시간은 시간당 6 분을 초과 할 수 없으며 하루에 총 광고와 상업 서비스 평균 시간은 시간당 5 분을 초과할 수 없다. 제 2 문단에 따라 최대 시간을 정할 때 위원 회는 소비자 보호를 고려하여야 한다. 시장 경쟁 측면에서 주파수를 사용하는 방송·텔 레비전 사업 허가증 취득자와 주파수를 사 용하지 아니하는 방송·텔레비전 사업 허가 증 취득자 간의 서비스 제공 비용 및 공정성 을 고려하여야 한다. 제 22 조, 제 23 조제 1 문단과 제 4 문단 및 제 24 조의 규정은 제 25 조에 따른 허가증 취득자에게 준용된다.

제 3 절 방송국 운영

제 29 조

방송·텔레비전 사업을 운영하는 경 우, 허가증 취득자는 취득한 허가에 따라 방 송국을 관리감독하기 위하여 각 방송국에 태국 국적자를 국장으로 임명한다. 국장은 법률과 위원회가 고시하는 공고에 따라 프 로그램 관리, 프로그램 수행 및 방송 감독을 담당한다.

제 30 조

허가증 취득자는 방송·텔레비전 사 업의 감독 및 관리를 수행할 때 국장의 행위 에 대하여 본인의 행위와 동등하게 책임을 진다. 다만, 그러한 행위가 인정되지 아니하 거나 동의 없이 이루어졌음을 입증하고 예 방을 위해 합리적인 조치를 취한 경우에는 그러하지 아니하다.

제 4 절 반독점

제 31 조

사업이 다양한 출처에서 공익 정보 를 수령할 기회를 제한하거나 여러 종류의 대중 매체를 동시에 운영하는 독점행위를 방지하기 위하여 허가증 취득자는 같은 유 형의 사업을 운영하거나 위원회가 정한 비 중을 초과하여 주파수를 사용하는 방송·텔 레비전 사업에 대해 복합매체 권리를 보유 하는 것이 금지된다. 제 1 문단에 따른 위원회의 공고를 위반한 경우, 위원회는 사업이 해당 공고를 준수하 도록 하기 위하여 허가증 취득자에게 90 일 이내에 위반사항을 시정하도록 명령할 권한 이 있다.

제 32 조

자유롭고 공정한 경쟁을 촉진하고 방송·텔레비전 사업에서 경쟁을 독점, 축소 또는 제한하는 행위를 방지하기 위하여 허 가증 취득자의 사업은 「무역경쟁에 관한 법률」 및 방송·텔레비전 사업의 특성에 따 라 위원회가 정한 구체적인 조치를 준수한 다. 방송·텔레비전 사업 운영에서 경쟁을 독점, 축소 또는 제한하는 행위는 해당 관련 사업 운영이나 공정한 경쟁을 방해하는 방식으로 음성 또는 시각 신호를 수신하기 위하여 특 별히 설치된 재료나 장비를 사용하는 행위 를 포함한다.

제 2 장 방송·텔레비전 사업의 프로그램

제 33 조

각 유형의 주파수를 사용하는 방송 ·텔레비전 사업 허가증 취득자는 다음과 같 이 프로그램 비율을 준수하기 위한 프로그 램 일정을 제공하여야 한다.

(1) 공공서비스사업 허가증 취득자는 대중 에게 공익성 뉴스와 정보 프로그램을 70 퍼 센트 이상 제공하여야 한다.

(2) 지역사회서비스사업 허가증 취득자는 해당 지역사회나 서비스가 제공되는 지역에 공익성 뉴스와 정보 프로그램을 70 퍼센트 이상 제공하여야 한다.

(3) 상업운영 허가증 취득자는 대중에게 공 익성 뉴스와 정보 프로그램을 25 퍼센트 이 상 제공하여야 한다. 지역 및 지방 수준의 상업운영 허가증 취득 자는 위원회가 정한 비율에 따라 자체적으 로 제작한 프로그램을 보유하여야 한다. 제 1 문단에 따른 공익성 뉴스와 정보 프로 그램은 뉴스, 민주주의 체제에 대한 지식과 이해를 촉진하는 프로그램, 교육, 윤리, 예 술, 문화를 촉진하는 프로그램, 경제, 사회, 삶의 질, 환경 개발에 대한 지식과 이해를 제공하는 프로그램을 포함한다.

제 34 조

허가증 취득자는 허가 받은 사업 운영의 목적과 일치하는 프로그램 일정을 제공해야 하며 이는 위원회가 정한 원칙에 따른다. 아동 및 청소년의 보호를 위해 필요한 경우, 위원회는 특정 유형의 프로그램에 대해 방 송시간을 제한할 수 있다. 허가증 취득자는 방송·텔레비전 사업의 서 비스 개시일부터 최소 15 일 이전에 프로그 램 일정을 위원회에 제출한다. 프로그램 일정이 위원회의 정한 원칙과 일 치하지 아니할 경우, 위원회는 허가증 취득 자에게 해당 프로그램 일정을 정확히 수정 하도록 명령할 수 있다. 위원회에서 변경된 프로그램 일정을 승인한 경우, 허가증 취득 자는 위원회가 승인한 프로그램 일정에 따 라 방송·텔레비전 사업 서비스를 개시할 수 있다. 허가증 취득자가 위원회 승인을 받은 프로 그램 일정을 변경하려 할 경우, 최소 7 일 이 전에 위원회에 신청해야 하며 이 경우 제 4 문단의 규정을 준용한다. 긴급한 필요성이 있는 경우, 허가증 취득자 는 위원회가 정한 프로그램 일정과 다른 사 업을 실행할 수 있다.

제 35 조

재해, 비상사태 또는 국민에게 알 리거나 경고할 필요가 있어 위원회가 정한 그 밖의 상황에서 정부 또는 관련 국가기관 이 요청하는 경우, 허가증 취득자는 해당 요 청을 따를 의무가 있다.

제 36 조

장애인 및 소외계층의 권리를 지원 하고 보호하며 일반 대중과 동등하게 방송· 텔레비전 사업의 프로그램에 접근하거나 활 용하도록 하기 위하여 위윈회는 허가증 취 득자가 해당인들의 이익을 위해 적절한 서 비스를 제공할 수 있도록 특정 기본 조치를 정한다. 위원회는 허가증 취득자가 적절한 조치를 취할 수 있도록 추가한 조치를 정할 수 있 다. 이와 관련하여 위원회는 관련 비용을 자 금에서 지급하거나 다른 방법으로 지원 또 는 촉진할 수 있다. 제 1 문단에 규정된 조치가 장애인과 소외 계층에게 적합하도록 하기 위하여 위원회는 해당 조치를 마련하는 데 장애인과 소외계 층의 의견을 듣거나 참여할 기회를 제공한 다. 제 1 문단에 따른 장애인과 소외계층의 이 익을 위한 적합한 서비스에는 전체 시간 동 안 독서 프로그램을 방송하는 서비스, 수화 통역사를 제공하는 서비스, 자막 서비스 및 공익 정보를 제공하는 프로그램에 대한 음 성 해설 서비스를 포함한다.

제 37 조

국왕을 국가원수로 하는 민주정부 를 전복시키는 내용, 국가안보, 공공질서 또 는 국민의 선량한 도덕에 영향을 미치는 내 용, 음란한 행위에 대한 내용, 정신 피폐화 또는 공중보건에 심각한 영향을 미치는 내 용의 프로그램에 대한 방송은 금지된다. 허가증 취득자는 제 1 문단에 따른 특성을 지닌 프로그램의 방송을 감독하여 중단시킬 의무가 있다. 허가증 취득자가 조치를 취하 지 아니하는 경우, 위원회로부터 위임된 위 원은 해당 프로그램의 방송을 즉시 중단하 도록 구술 또는 서면으로 명령할 수 있다. 또한 위원회는 해당 사건의 사실관계를 즉 시 조사한다. 조사 결과에 따라 위원회가 해당 행위가 허 가증 취득자의 과실로 인하여 발생한 것으 로 확인된 경우, 위원회는 허가증 취득자에 게 적절한 시정조치를 하도록 명령할 수 있 는 권한이 있으며 허가증을 정지 또는 취소 할 수도 있다.

제 38 조

허가증 취득자는 이미 발송된 프로 그램을 테이프나 그 밖의 텔레비전 자료 또 는 재방송할 수 있는 수단으로 녹화하도록 하고 담당관의 검사를 위해 해당 녹화물을 보관하여야 한다. 제 1 문단에 따른 녹화 항목과 보관하는 기 간은 위원회가 정하는 바에 따른다. 해당 기 간은 30 일 이상이며 허가증 취득자에게 불 필요한 부담을 초래해서는 아니 된다.

제 3 장 작업 윤리 촉진 및 규제 그리고 방송·텔레비 전 사업 운영으로부터 피해자 보호

제 39 조

직업 또는 전문직에 대한 윤리적 기준을 정하고 이를 준수하여 직업 또는 전 문직을 통제하기 위하여 위원회는 허가증 취득자, 제작자, 방송 및 텔레비전 관련 언 론인들이 다양한 형태의 조직을 구성하도록 지원한다. 제 1 문단에 따른 조직의 윤리적 기준은 공 익 정보에 대한 대중의 인식 보호, 방송·텔 레비전 사업 운영으로부터 소비자 보호, 직 업의 권리와 자유 보호 그리고 조직의 전문 직 보호를 고려하여야 한다. 제 1 문단에 따른 직업 또는 전문직 통제를 위해 각 조직은 관련 전문가, 학자, 외부 전 문가를 포함하여 적절한 비율로 윤리통제위 원회를 둔다. 제 1 문단에 따른 조직이 윤리적 기준을 정 하는 경우, 위원회는 제 52 조에 따라 기금 에서 비용을 지원할 수 있다.

제 40 조

허위로 방송되거나 권리, 자유, 영 광, 명예, 가족의 권리, 사생활권을 침해하 는 프로그램으로 인하여 피해를 입은 자는 위원회에 민원을 제기할 수 있다. 피해자에게 신속히 보상을 제공하기 위하여 위원회는 해당 민원과 의견을 제 39 조에 따 른 직업 또는 전문직을 관리한 조직에 제공 한다. 또한 위원회는 제 39 조에 따른 직업 또는 전문직을 관리한 조직의 처분에 대해 후속 조치를 취하고 제 39 조에 따른 직업 또는 전문직을 관리한 조직이 결과를 위원 회에 통지한 경우, 해당 결과를 민원인에게 통지하여야 한다. 이 장의 시행 결과는 제 51 조제(1)항에 따 른 시행의 일부이다.

제 4 장 기본 네트워크 공사, 방송·텔레비전 사업 운 영에서 네트워크 이용과 접속

제 41 조

제 49 조에 따라 방송·텔레비전 사 업 운영을 위해 허가증 취득자가 기둥 새우 기, 전선 설치, 배관 및 장비 설치를 해야 할 필요가 있으며 이 규정에 따른 권리를 행사해야 하는 경우, 허가증 취득자는 설치 방향과 경계를 상세히 표시하는 기둥 세우 기, 전선 설치, 배관 그리고 장비를 설치하 는 도면을 작성하여 위원회의 승인을 위해 제출한다. 위원회가 제 1 문단에 따라 승인한 경우, 허 가증 취득자는 해당 조치를 이행할 권리를 가진다. 이에 관하여 「2001 년 전기통신사 업법」 제 4 장의 조항을 준용한다. 국가전 기통신사업위원회의 권한과 의무는 이 법에 따른 위원회의 권한과 의무와 일치하며 전 기통신사업 운영 허가증 취득자의 모든 권 리와 의무는 이 법에 따른 허가증 취득자의 권리와 의무가 된다. 「2001 년 전기통신사업법」 제 4 장의 조 항에 따라 위법행위의 범위와 해당 위법행 위에 대한 처벌이 정해져 있는 경우, 허가증 취득자에게도 동일한 벌금이 적용된다.

제 42 조

네트워크 소유자는 위원회가 정한 원칙과 절차에 따라 허가증 취득자가 본인 의 네트워크를 이용하거나 접속하도록 허용 하는 데 동의하여야 한다. 네트워크 소유자는 다음 각 항의 경우에만 네트워크 이용 또는 접속에 대한 동의를 거 부할 수 있다.

(1) 기존 네트워크가 허가증 취득자가 이용 하거나 접속하기에 충분하지 아니하다.

(2) 네트워크를 이용하거나 접속하는 경우, 국가안보에 영향을 미칠 수 있다.

(3) 네트워크를 이용하거나 접속하는 경우, 네트워크 소유자 또는 다른 네트워크 이용 자의 방송·텔레비전 사업 서비스에 간섭이 발생하거나 방해할 수 있다.

(4) 위원회가 정한 그 밖의 경우에 해당한 다. 제 2 문단에 따라 네트워크 이용 또는 접속 을 거부한 네트워크 소유자는 해당 거부 사 유를 입증할 의무가 있다. 네트워크 이용 또는 접속에 대한 보수의 부 과는 네트워크 소유자와 네트워크 이용 또 는 접속을 요청하는 허가증 취득자에게 합 리적이고 공정해야 하며 모든 허가증 취득 자 간에 평등하여야 한다. 제 1 문단에 따른 원칙과 절차를 정할 때에 는 위원회가 허가증 취득자와 관련 네트워 크 소유자의 의견을 들어야 한다.

제 43조

네트워크 이용 또는 접속을 거부하 거나 네트워크 이용 또는 접속에 관한 계약 의 협상에서 합의가 이루어지지 아니한 경 우, 당사자는 위원회가 정한 원칙과 절차에 따라 고려하도록 위원회에 요청할 권리를 가진다. 위원회의 결정은 최종적이다. 제 1 문단에 따른 네트워크 이용 또는 접속 결정은 안전과 가능한 피해 방지도 고려하 여야 한다. 제 1 문단에 따라 위원회가 고려하는 중에 네트워크 이용 또는 접속 거부가 제 42 조제 2 문단에 부합하지 아니할 가능성이 있다고 합리적으로 믿을 수 있는 근거가 있는 경우, 위원회는 당분간 네트워크 이용 또는 접속 을 명령할 수 있다. 이 명령은 위원회가 정 한 원칙과 절차에 따른다.

제 44 조

네트워크 이용 또는 접속에 관한 계약은 다음 각 항의 특성이 있어야 한다.

(1) 다른 허가증 취득자를 처벌하거나 배제 하지 아니한다.

(2) 이용 또는 접속 지점의 기술 사양은 명 확하고 기술적으로 실행 가능해야 하며 네 트워크 이용이나 접속을 요청한 당사자에게 불합리한 부담을 주지 아니한다.

(3) 네트워크 이용 또는 접속을 요청하는 허가증 취득자와 네트워크 소유자 간의 의 무와 책임이 명확하게 규정되어 있다.

(4) 네트워크 이용 또는 접속에 대한 보수 는 제 43 조제 4 문단에 따라 결정된다.

(5) 위원회가 정한 그 밖의 특성이 있다. 네트워크 소유자는 계약 체결일부터 10 일 이내에 위원회에 계약서 사본을 제출하여야 한다. 위원회가 해당 계약이 제 1 문단의 특 성을 충족시키지 아니하는 것으로 판단하는 경우, 위원회는 지정된 기간 내에 시정조치 를 하도록 명령할 수 있다. 다만, 네트워크 이용 또는 접속을 요청한 자가 위원회의 명 령을 따르지 아니하는 경우, 해당 계약은 무 효로 된다.

제 45 조

네트워크 소유자는 위원회가 정한 절차에 따른 네트워크 이용 또는 접속에 대 한 보수 비율을 포함하여 네트워크 이용 또 는 접속에 대한 계약을 공개하여야 한다.

제 46 조

사정이 변경되어 네트워크 이용 또 는 접속에 대한 보수가 제 42 조제 4 문단에 부합하지 아니하고 당사자가 합의에 도달할 수 없는 경우, 당사자는 결정을 위해 위원회 에 회부할 수 있다. 위원회의 결정은 최종적 이다.

제 47 조

네트워크 소유자는 네트워크를 이 용하거나 접속하는 허가증 취득자에게 네트 워크 이용 또는 접속과 관련된 정확하고 필 수적인 정보를 통지하여야 한다. 네트워크 소유자는 제 1 문단에 따른 네트 워크의 정상적인 이용이나 접속을 방해하는 어떠한 조치도 취해서는 아니 된다. 네트워크 이용 또는 접속에 영향을 미치는 네트워크 변경이 있는 경우, 네트워크 소유 자는 네트워크를 이용하거나 접속하는 허가 증 취득자에게 통지하여야 한다. 다만, 변경 사항이 이용자에게 영향을 미치는 경우, 네 트워크 소유자는 해당 변경사항을 최소 6 개 월 전에 공지하여야 한다.

제 48 조

소비자가 방송 또는 텔레비전 서비 스를 받으며 환경을 보호하며 음성 또는 시 각 신호를 수신, 전송 또는 방송하는 목적으 로 적절한 위치에 있는 토지, 장소, 건축물, 기둥 또는 그 밖의 유사한 구조물을 소유한 정부 부문, 국영기업 및 그 밖의 정부기관을 보호하기 위하여 허가증 취득자 또는 네트 워크 소유자는 음성 또는 시각 신호를 수신, 전송 또는 방송하기 위한 자재 또는 장비를 설치하도록 허용하는 경우, 다른 허가증 취 득자 또는 네트워크 소유자에게도 해당 목 적을 위한 자재 또는 장비를 설치하도록 허 용하여야 한다. 제 44 조의 규정을 준용한 다. 제 1 문단에 따라 정부 부문, 국영기업 또는 그 밖의 정부기관은 다음 각 항의 경우에만 허가증 취득자 및 네트워크 소유자의 토지, 부지, 건축물, 기둥 또는 그 밖의 유사한 구 조물 사용에 대한 동의를 거부할 수 있다.

(1) 추가 자재 또는 장비를 설치하여 기존 에 설치된 시스템에 해를 끼치거나 방해하 거나 효율성을 저하시키는 경우

(2) 재산의 이용에 불필요한 부담을 주거나 방해하는 경우

제 49 조

방송·텔레비전 사업 운영 중의 네 트워크 이용 또는 접속은 「주파수 할당, 라 디오, 텔레비전 방송사업 및 전기통신사업 감독기관에 관한 법률」에 따라 위원회가 정한 원칙과 절차에 따른다.

제 50 조

이 법에 따른 허가증 취득자, 전기 통신사업 관련 법률에 따른 허가증 취득자 또는 네트워크 소유자는 이 법에 따른 허가 증 취득자가 아닌 다른 자에게 방송·텔레비 전 사업 운영과 관련된 공익 정보나 프로그 램을 송신하거나 방송하는 서비스를 제공하 는 것이 금지된다.

제 5 장 방송·텔레비전 사업의 촉진과 발전

제 51 조

방송·텔레비전 사업 촉진과 발전을 위해 위원회는 다음 각 항을 진행한다.

(1) 방송·텔레비전 사업 기본계획과 이 법 을 준수하여 방송·텔레비전 사업 운영의 효 율성과 효과성을 평가한다. 의견의 다양성, 장애인과 소외계층에 대한 서비스 제공, 민 원 접수 및 신규 사업자의 시장 진출 기회를 제공한다.

(2) 사회에 대한 이익과 국민의 선량한 도 덕을 고려하여 프로그램 품질 평가를 제공 한다.

(3) 제(1)항 및 제(2)항을 이행하기 위하 여 허가증 취득자, 전문직 또한 소비자의 의 견을 듣는다.

제 1 문단에 따른 평가는 위원회가 정한 원 칙과 절차를 준수하며 최소한 효과성, 효율 성, 조직 발전, 국민의 지지 및 그 밖의 필요 한 세부사항이 입증되어야 한다.

제 52 조

프로그램이 사회에 유익하거나 프 로그램 제작을 촉진할 만하거나 어떠한 사 업자가 제 36 조에 따른 장애인과 소외계층 의 권리를 촉진하고 보호하기 위한 조치를 취하는 것으로 판단되는 경우, 위원회는 원 칙에 따라 기금에서 비용을 지원할 수 있다.

제 6 장 감독

제 53 조

이 법을 위반하거나 준수하지 아니 하는 행위에 대한 합당한 의심이 있는 경우, 위원회와 담당관은 다음 각 항의 권한이 있 다.

(1) 관련자에게 설명을 요청하거나 고려하 려는 문서 또는 증거를 제출하도록 요구한 다.

(2) 위법행위를 입증하기 위한 증거로 사용 하는 데 참조 또는 검토를 위해 소환장을 발 부하여 진술하게 하거나 서류 또는 물품을 제출하게 한다.

(3) 위법행위에 대한 사실관계를 조사하거 나 위법행위에 이용된 물건, 소유가 위법인 물건 또는 위법행위에 이용될 물건을 수색 하거나 이 법에 대한 위반 또는 허가증 규정 에 대한 불이행이 될 수 있는 행위를 조사하 기 위하여 일출 시부터 일몰 시까지 또는 해 당 장소의 업무시간에 허가증 취득자 또는 그 밖의 자의 건물이나 사업장에 진입한다.

위원회나 담당관이 사실관계를 조사하기 위 하여 제(3)항에 따라 건물 또는 사업장에 진입하려면 법원으로부터 발급된 수색영장 을 소지하여야 한다. 제(3)항에 따라 진입하여 조사에 착수한 경 우에는 일몰 후 또는 해당 장소의 업무시간 외에 계속하여 진행할 수 있다. 위원회 또는 담당관의 직무를 수행 시 관련 자들은 적절한 편의를 제공하여야 한다. 이 규정에 따라 위원회 또는 담당관의 직무 수행은 위원회가 정한 원칙에 따라야 한다

제 54 조

직무를 수행하는 경우, 담당관은 관 련자에게 신분증을 제시하여야 한다. 담당관 신분증은 위원회가 정한 양식을 따 른다.

제 55 조

허가증 취득자의 음성 또는 시각 신호 전송 또는 방송을 방해하는 자가 있는 경우, 관할 담당관은 해당 개입자에게 중단 하거나 방해를 해결하거나 방해가 되는 영 역 밖으로 그것을 옮기거나 해당 개입자 또 는 다른 자에게 방해를 해결하기 위하여 그 밖의 필요한 모든 조치를 취하도록 명령할 수 있다. 다만, 방해의 원인이 다른 법에 따 라 허용되는 활동인 경우, 담당관은 해당 법 에 따라 해결하도록 당국에 통지하여야 한 다.

제 56 조

이 법에 따라 직무를 수행하는 경 우에는 위원 및 담당관이 「형법」에 따른 담당관이 된다.

제 7 장 벌칙규정

제 1 절 과태료

제 57 조

과태료는 다음 각 항과 같다.

(1) 1 급 과태료는 5 만밧 이하의 과태료를 부과한다.

(2) 2 급 과태료는 5 만밧 이상 50 만밧 이 하의 과태료를 부과한다.

(3) 3 급 과태료는 50 만밧 이상 500 만밧 이하의 과태료를 부과한다.

제 58 조

허가증 취득자 또는 그 밖의 자는 다음 각 항의 경우, 1 급 과태료를 부과한다.

(1) 제 24 조에 따라 위원회가 정한 원칙을 위반하거나 준수하지 아니하는 경우

(2) 제 44 조제 2 문단 또는 제 47 조제 1 문 단 또는 제 3 문단을 위반하거나 준수하지 아니하는 경우

(3) 제 44 조제 2 문단에 따른 위원회의 명 령을 위반하거나 준수하지 아니하는 경우

제 59 조

허가증 취득자 또는 그 밖의 자는 다음 각 항의 경우, 2 급 과태료를 부과한다.

(1) 제 34 조제 5 문단, 제 35 조 또는 제 38 조를 위반하거나 준수하지 아니하는 경우

(2) 제 34 조제 1 문단, 제 36 조 또는 제 45 조에 따라 위원회가 정한 원칙, 절차, 조치 또는 공고를 위반하거나 준수하지 아니하는 경우

(3) 제 34 조제 4 문단 또는 제 37 조제 1 문 단에 따른 위원회의 명령을 위반하거나 준 수하지 아니하는 경우

제 60 조

허가증 취득자 또는 그 밖의 자는 다음 각 항의 경우, 3 급 과태료를 부과한다.

(1) 제 47 조제 2 문단, 제 48 조제 1 문단 또 는 제 50 조를 위반하거나 준수하지 아니하 는 경우

(2) 제 22 조, 제 23 조, 제 34 조제 2 문단 또는 제 42 조제 1 문단에 따라 위원회가 정 한 원칙 또는 공고를 위반하거나 준수하지 아니하는 경우

(3) 제 43 조에 따른 위원회의 명령을 위반 하거나 준수하지 아니하는 경우

제 61 조

과태료가 부과되는 위반행위가 계 속되는 위반이며 위원회가 해당 위반행위에 대하여 과태료 부과 명령을 내린 경우, 위반 자는 과태료 부과 명령일부터 규정을 준수 할 때까지 위반 또는 불이행 기간 동안 다음 각 항에 따라 일일벌금을 부과하여야 한다.

(1) 1 급 과태료의 경우, 벌금은 하루에 5 천 밧을 초과하지 아니한다.

(2) 2 급 과태료의 경우, 벌금은 하루에 2 만 밧을 초과하지 아니한다.

(3) 3 급 과태료의 경우, 벌금은 하루에 5 만 밧을 초과하지 아니한다. 위원회는 15 일마다 일일벌금을 납부하도 록 집행하여야 한다.

제 62 조

사무국은 과태료 대상 위법행위에 관한 사실관계를 수집하며 과태료를 명령하 기 위하여 위원회에 제출한다. 이는 위원회 가 정한 원칙에 따른다. 과태료를 명령하기 위하여 위원회는 행위와 해당 행위로 인한 피해를 고려하여야 한다. 다만, 위원회는 위반행위가 다음 각 항의 특 성을 가지고 있다고 판단하는 경우, 과태료 를 부과하지 아니하고 위반자에게 경고할 수 있다.

(1) 1 급 과태료인 위법행위

(2) 지속되지 않는 위법행위

(3) 초범이며 의도하지 아니한 위법행위

(4) 피해가 없는 행위

제 63 조

위원회가 허가증 취득자에게 과태 료를 명령하였으며 적절한 것으로 판단하는 경우, 위원회는 위반이나 동일한 위법행위 의 재발을 방지하기 위하여 허가증 취득자 에게 작위 또는 부작위를 명령할 수 있다.

제 64 조

위원회는 다음 각 항의 경우, 허가 증을 정지하거나 취소할 수 있다.

(1) 허가증 취득자가 제 31 조 또는 제 33 조에 따른 위원회의 명령을 준수하지 아니 한 경우

(2) 허가증 취득자가 제 37 조를 위반하여 심각한 피해가 발생한 경우

(3) 허가증 취득자가 이 법에 따른 위반행 위를 반복하거나 이 법에서 정한 원칙 또는 명령을 반복적으로 위반하거나 심각한 피해 가 발생한 경우

(4) 허가증 취득자가 이 법에 따라 형사 처 벌을 받을 수 있는 위법행위를 범한 경우

(5) 허가증 취득자가 저작권 관련 법률에 따른 방송 저작물과 관련된 저작권 침해로 인하여 종국판결을 선고받은 경우

(6) 회사인 상업운영 허가증 취득자가 제 15 조를 위반한 경우 허가증 정지명령은 위원회가 결정하며 1 회 에 30 일을 초과할 수 없다.

제 65 조

과태료가 부과된 자가 과태료 납부 를 거부하거나 전액을 정확히 납부하지 아 니한 경우, 행정절차 관련 법률의 행정처분 에 관한 규정을 준용한다.

제 2 절 형사처벌

제 66 조

방송·텔레비전 사업 또는 이를 위 한 주파수 사용, 방송·텔레비전 사업에서 허 용 범위 외의 서비스를 허가 없이 제공하는 사람은 5 년 이하의 징역 또는 500 밧 이하 의 벌금에 처한다. 이 경우 징역과 벌금을 병과할 수 있다.

제 67 조

제 9 조, 제 32 조 또는 제 33 조에 따른 위원회의 공고를 위반하는 사람은 3 년 이하의 징역 또는 300 밧 이하의 벌금에 처 하거나 징역과 벌금을 병과할 수 있으며 위 반 기간 동안 일일 3 만밧 이하의 벌금에 처 한다.

제 68 조

다른 허가증 취득자의 음성 또는 시각 신호 전송 또는 방송을 방해하는 허가 증 취득자는 3 년 이하의 징역 또는 300 밧 이하의 벌금에 처하거나 징역과 벌금을 병 과할 수 있으며 위반 기간 동안 일일 3 만밧 이하의 벌금에 처한다.

제 69 조

허가증 취득자의 음성 또는 시각 신호 전송 또는 방송을 방해하는 사람은 3 년 이하의 징역 또는 6 만밧 이하의 벌금에 처하거나 징역과 벌금을 병과할 수 있으며 위반 기간 동안 일일 1 만밧 이하의 벌금에 처한다.

제 70 조

위원회의 허가 없이 가입 방송·텔 레비전 사업의 프로그램 신호 수신 및 변경 을 목적으로 다른 자에게 수신기, 도구, 장 비를 제작, 수입, 판매 또는 판매용으로 소 유, 설치하는 사람은 2 년 이하의 징역 또는 200 만밧 이하의 벌금에 처한다. 이 경우 징 역과 벌금을 병과할 수 있다. 이 규정은 위원회가 승인한 연구 목적으로 제 1 문단에 따른 수신기, 도구 또는 장비를 소유하거나 사용하는 경우에는 적용되지 아 니한다.

제 71 조

제 53 조에 따른 위원회 또는 담당 관의 직무 수행을 방해하거나 편의를 제공 하지 아니하는 사람은 1 개월 이하의 징역 또는 1 천밧 이하의 벌금에 처한다. 이 경우 징역과 벌금을 병과할 수 있다. 이 법에 따른 위반행위가 발생한 경우, 위원 회는「형사소송법전」에 따라 피해자로 간 주한다. 이 규정은 실질적인 피해자가 위법행위자에 대해 법적으로 소송을 제기하거나 그 밖의 조치를 취하는 권리를 제한하지 아니한다.

제 72 조

위법행위자가 법인이며 같은 법인 의 위법행위가 대표이사, 관리자, 같은 법인 의 운영 책임자로 인하여 발생한 경우, 해당 인은 위법행위에 대하여 규정된 바에 따라 처벌되어야 한다. 다만, 해당 행위가 본인이 알지 못하거나 동의 없이 진행되었다는 점 이 입증 가능한 경우, 이 규정은 적용되지 아니한다.

경과규정

제 73 조

국가 홍보의 이익을 위한 초기 의 제에서 제 20 조, 제 35 조, 제 36 조 및 제 38 조를 제외한 제 1 장 방송·텔레비전 사업 운영, 제 2 장 방송·텔레비전 사업의 프로그 램, 제 6 장 감독 및 제 7 장 벌칙규정이 국 가의 홍보 기관으로서, 홍보국에 적용되지 아니하며 방송·텔레비전 사업 기본계획이 마련될 때까지 기존 서비스 범위에 따라 방 송·텔레비전 사업을 계속할 수 있다. 방송·텔레비전 사업 기본계획이 시행된 경 우, 방송·텔레비전 사업 기본계획을 준수하 기 위하여 위원회는 해당 방송·텔레비전 사 업 기본계획에서 정한 홍보국의 임무 특성, 유형 및 범위를 홍보국을 감독하는 주무장 관에게 통지하여야 한다.

제 74 조

이 법의 시행일에 방송·텔레비전 사업을 운영하는 정부 부문, 국영기업 및 그 밖의 정부기관은 방송·텔레비전 사업 기본 계획이 마련될 때까지 해당 사업을 계속 운 영할 수 있다. 정부 부문, 국영기업 및 그 밖 의 정부기관이 계속해서 운영하려는 경우, 위원회로부터 허가를 받기 위하여 방송·텔 레비전 사업 운영계획을 마련하여야 한다. 해당 정부 부문, 국영기업 및 그 밖의 정부 기관에 사업 운영 허가증을 발급하기 위하 여 사업 운영의 필요성과 주파수 이용을 고 려하여야 한다.

제 75 조

방송·텔레비전 사업을 운영하기 위 하여 이 법 시행일에 정부 부문, 국영기업 또는 그 밖의 정부기관으로부터 허가, 권리 또는 계약을 취득한 자는 취득한 허가, 권리 또는 계약에 따른 방송·텔레비전 사업이 종 료될 때까지 해당 사업을 계속 운영할 수 있 다. 이 법에 따른 사업 운영 허가증을 발급하기 위하여 위원회는 해당 사업의 특성, 유형 및 범위에 따라 정부 부문, 국영기업 또는 그 밖의 정부기관으로부터 허가, 권리 또는 계 약을 취득한 자에게 허가증을 발급한다. 해 당 사업 허가증은 허가, 권리 또는 계약의 남은 기간 동안 유효하며 허가증 수수료가 면제된다. 제 2 문단에 따른 허가증 취득자에게는 이 법 제 16 조, 제 17 조, 제 18 조, 제 19 조 및 제 22 조를 적용하지 아니한다.

제 76 조

2007 년 태국 왕국 「헌법」의 효 력 발생일 이전에 존재하는 방송·텔레비전 사업을 운영하기 위하여 재무부는 정부 부 문, 국영기업 또는 그 밖의 정부기관이 허 가, 권리 또는 계약으로 인하여 재무부에 납 부해야 하는 수입의 2 퍼센트에 해당하는 금 액을 기금에 송금하여야 한다. 이는 허가, 권리 또는 계약기간이 종료될 때까지 적용 된다.

제 77 조

이 법 시행일부터 5 년이 경과한 날 에 위원회는 제 8 조에 따른 광고와 사업 서 비스의 최대 기간을 검토하여야 한다. 다만, 제 23 조제 2 문단에서 정한 광고와 사업 서 비스의 최대 기간을 초과할 수 없다.

제 78 조

태국 왕국 「헌법」 제 47 조에 따 라 주파수 할당 및 라디오와 텔레비전 및 전 기통신사업 감독기관의 설립이 완료되지 아 니하는 기간 동안, 「2000 년 주파수 할당 및 라디오와 텔레비전 및 전기통신사업 감 독기관에 관한 법률」에 따른 국가전기통신 사업위원회는 이 법에 따른 위원회의 직무 를 일시적으로 수행한다. 국가전기통신사업 위원회는 다음 각 항의 권리 및 의무가 있 다.

(1) 경과규정에서 정한 직무를 질서있게 수 행한다.

(2) 지역사회 라디오사업 운영자 및 주파수 를 사용하지 아니하는 사업 운영자에게 위 원회가 정한 바에 따라 해당 사업 임시 허가 증을 발급한다. 시회봉사사업 운영 임수 허 가증 및 주파수를 사용하지 아니하는 사업 운영 임시 허가증의 유효기간은 1 년을 초 과하지 아니한다.

(3) 프로그램 비율을 정하여 제(2)항에 따 른 허가증 취득자의 프로그램 일정을 승인 한다.

(4) 제 2 문단에 따른 허가증 취득자의 전송 또는 방송이 지정된 전송 전력에 따르고 허 가된 지역의 적용범위를 준수하도록 감독한 다.

제 79 조

제 78 조에 따른 직무를 수행할 때 위원회는 다음으로 구성된 라디오·텔레비 전소위원회를 둘 권한이 있다.

(1) 국무총리비서관은 소위원회의 위원장 이 된다.

(2) 국방부차관 또는 그 대리인, 교육부차 관 또는 그 대리인, 법령위원회의 사무총장 또는 그 대리인, 홍보국장 또는 그 대리인, 지방행정국장 또는 그 대리인, 국가문화위 원회 사무총장 또는 그 대리인 및 경찰청장 또는 그 대리인은 소위원이 된다.

(3) 내각이 임명하는 6 명의 자격을 갖춘 위 원 중 3 명은 대중매체, 신문 분야에 대한 지 식, 전문성 및 경험을 보유하는 자, 그중 2 명은 공법 분야에 대한 지식, 전문성 및 경 험을 보유하는 자, 1 명은 소통기술 또는 사 업 감독에 유익한 그 밖의 관련 분야에 대한 지식, 전문성 및 경험을 보유하는 자가 소위 원으로 임명된다.

(4) 태국 대중매체학부협의회 회장 또는 그 대리인, 태국 방송언론인협의회 회장 또는 그 대리인, 라디오 및 텔레비전전문연맹회 회장 또는 그 대리인, 전국아동청소년개발 협의회 회장 또는 그 대리인, 사립개발기관 조정위원회 위원장 또는 그 대리인, 태국 장 애인협의회 회장 또는 그 대리인 및 소비자 단체연합회 회장 또는 그 대리인으로부터 위원회가 임명하는 자격을 갖춘 위원이 소 위원이 된다. 국가전기통신사업위원회 사무총장은 소위 원과 사무총장으로 임명된다. 제 1 문단에 따른 소위원회는 의견을 제시 하고 위원회가 위임한 그 밖의 직무를 수행 할 의무가 있으며 이는 제 53 조에 따른 권 한과 의무를 포함한다. 「회의, 직무 수행 및 퇴임의 행정절차에 관 한 법률」이 소위원회에 대해 준용된다.

제 80 조

제 78 조및 제 79 조에 따른 국가전 기통신사업위원회 및 라디오·텔레비전소위 원회의 직무는 「태국 왕국 「헌법」」 제 47 조에 따른 독립국가조직위원회가 설치 되는 날부터 종료된다. 다만, 국가전기통신 사업위원회 및 라디오·텔레비전소위원회가 이 경과규정에 따라 직무를 수행하는 동안 조치를 취하도록 허가하거나 수행하는 명령 에는 영향을 미치지 아니한다. 부서 대장 수라윳 출라논(쑤라윳 쭐라논) 총리