로고

พระราชบัญญัติ กองทุนพัฒนาสื่อ ปลอดภัยและสร้างสรรค์ พ.ศ. ๒๕๕๘ 2015년 안전하고 창의적인 미디어 개발 기금법

ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร. ให้ไว้ ณ วันที่ ๒๐ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๘ เป็นปีที่ ๗๐ ในรัชกาลปัจจุบัน พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มี พระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า โดยที่ เป็นการสมควรมีกฎหมายว่าด้วยกองทุนพัฒนาสื่อ ปลอดภัยและสร้างสรรค์ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้น ไว้โดยคําแนะนําและยินยอมของ สภานิติบัญญัติ แห่งชาติ ดังต่อไปนี้ 푸미폰 아둔야뎃 국왕 폐하께서 재위 70년 째 해인 2015년 3월 20일에 하사하셨다. 푸미폰 아둔야뎃 국왕께서 안전·창의적미 디어개발기금에 관한 법률을 제정하는 것 이 마땅하다고 왕명을 내리신 바 이에 국왕께서는 의회의 조언과 동의를 받 아 다음의 법률을 제정하는 바이다.

มาตรา ๑ พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า “พระราชบัญญัติ กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ พ.ศ. ๒๕๕๘”

มาตรา ๒ พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัด จากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา เป็นต้นไป

มาตรา ๓ ในพระราชบัญญัตินี้

“สื่อ” หมายความว่า สิ่งท่ีทําให้ปรากฏด้วยตัวอักษร เครื่องหมาย ภาพ หรือเสียง ไม่ว่าจะได้ จัดทําในรูป ของเอกสาร สิ่งพิมพ์ ภาพเขียน ภาพพิมพ์ ภาพระบาย สี รูปภาพ ภาพโฆษณา เครื่องหมาย รูปถ่าย ภาพยนตร์ วีดิทัศน์ การแสดง ข้อมูลคอมพิวเตอร์ใน ระบบคอมพิวเตอร์ หรือได้จัดทําในรูปแบบอื่นใด ตามที่ กําหนดในกฎกระทรวง “สื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์” หมายความว่า สื่อที่มีเนื้อหาส่งเสริมศีลธรรม จริยธรรม วัฒนธรรมและความ มั่นคง ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ การเรียนรู้ทักษะการใช้ชีวิตของประชาชน โดยเฉพาะเด็กและเยาวชน และ ส่งเสริมความสัมพันธ์ที่ดีในครอบครัวและสังคม รวมถึง การส่งเสริม ให้ประชาชนมีความสามัคคีและสามารถใช้ ชีวิตในสังคมที่มีความหลากหลายได้อย่างเป็นสุข “กองทุน” หมายความว่า กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ “สํานักงาน” หมายความว่า สํานักงานกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ “คณะกรรมการ” หมายความว่า คณะกรรมการกองทุน พัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ “คณะกรรมการประเมินผล” หมายความว่า คณะกรรมการประเมินผลการดําเนินงานของกองทุน “ผู้จัดการ” หมายความว่า ผู้จัดการกองทุนพัฒนาสื่อ ปลอดภัยและสร้างสรรค์ “รัฐมนตรี” หมายความว่า รัฐมนตรีผู้รักษาการตามพระราชบัญญัตินี้

มาตรา ๔ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม รักษาการตามพระราชบัญญัตินี้ และให้มี อํานาจออก กฎกระทรวงและประกาศเพื่อปฏิบัติการตาม พระราชบัญญัตินี้

กฎกระทรวงและประกาศนั้น เมื่อได้ประกาศในราช กิจจานุเบกษาแล้วให้ใช้บังคับได้

หมวด ๑ การจัดตั้งกองทุน

มาตรา ๕ ให้จัดตั้งกองทุนขึ้นกองทุนหนึ่งเรียกว่า “กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์”

ให้กองทุนเป็นนิติบุคคลและมีวัตถุประสงค์ดังต่อไปนี้

(๑) รณรงค์ ส่งเสริม และสนับสนุนการพัฒนาสื่อ ปลอดภัยและสร้างสรรค์

(๒) ส่งเสริมให้มีการพัฒนาศักยภาพของผู้ผลิตสื่อ ปลอดภัยและสร้างสรรค์

(๓) ส่งเสริมและสนับสนุนให้ประชาชนโดยเฉพาะเด็ก เยาวชนและครอบครัวมีทักษะใน การรู้เท่าทันสื่อ เฝ้า ระวังสื่อที่ไม่ปลอดภัยและไม่สร้างสรรค์ และสามารถใช้ สื่อในการพัฒนาตนเอง ชุมชนและสังคม

(๔) ส่งเสริมและสนับสนุนการมีส่วนร่วมของประชาชน อย่างกว้างขวาง เพื่อให้เกิดการพัฒนา สื่อปลอดภัย และสร้างสรรค์

(๕) ส่งเสริมให้มีการศึกษาวิจัย อบรม พัฒนาองค์ ความรู้และการสร้างนวัตกรรมด้านสื่อปลอดภัย และ สร้างสรรค์

(๖) ส่งเสริมบุคคล องค์กรชุมชน องค์กรเอกชน องค์กร สาธารณประโยชน์ ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ หรือ หน่วยงานอื่นของรัฐ ที่ดําเนินกิจกรรมเกี่ยวกับสื่อให้มี การผลิตและพัฒนาสื่อปลอดภัย และสร้างสรรค์

(๗) ดําเนินการและส่งเสริมให้มีสื่อปลอดภัยและ สร้างสรรค์ที่ทุกคนสามารถเข้าถึงและใช้ประโยชน์ได้ อย่างทั่วถึง

มาตรา ๖ กองทุนประกอบด้วยเงินและทรัพย์สิน ดังต่อไปนี้

(๑) เงินที่ได้รับการจัดสรรจากกองทุนวิจัยและพัฒนา กิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการ โทรคมนาคม เพื่อประโยชน์สาธารณะตามกฎหมายว่า ด้วยองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกํากับการประกอบ กิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการ โทรคมนาคม

(๒) เงินทุนประเดิมที่รัฐบาลจัดสรรให้

(๓) เงินค่าปรับที่ได้รับจากการลงโทษผู้ละเมิดลิขสิทธิ์ หรือสิทธิของนักแสดงตามกฎหมายว่าด้วยลิขสิทธิ์ที่ตก เป็นของกองทุนตามมาตรา ๑๒

(๔) เงินที่ได้รับจากต่างประเทศหรือองค์การระหว่าง ประเทศ

(๕) ค่าตอบแทน ค่าบริการ หรือรายได้จากการดําเนิน กิจการ หรือสิทธิประโยชน์ของกองทุน

(๖) เงินหรือทรัพย์สินที่มีผู้บริจาคหรือมอบให้

(๗) เงินหรือทรัพย์สินที่ตกเป็นของกองทุนหรือที่ กองทุนได้รับตามกฎหมาย

(๘) ดอกผลหรือผลประโยชน์ใด ๆ ที่เกิดจากทรัพย์สิน ของกองทุน

มาตรา ๗ กิจการของกองทุนไม่อยู่ภายใต้บังคับแห่ง กฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงาน กฎหมายว่าด้วย แรงงานสัมพันธ์ และกฎหมายว่าด้วยเงินทดแทน ทั้งนี้ ผู้จัดการ เจ้าหน้าที่และลูกจ้าง ต้องได้รับประโยชน์ตอบ แทนไม่น้อยกว่าที่กําหนดไว้ในกฎหมายว่าด้วยการ คุ้มครองแรงงานและกฎหมายว่าด้วยเงินทดแทน

มาตรา ๘ ให้กองทุนมีสํานักงานใหญ่ใน กรุงเทพมหานคร หรือในจังหวัดอื่นตามที่รัฐมนตรี ประกาศกําหนด

มาตรา ๙ ให้กองทุนมีอํานาจกระทํากิจการต่าง ๆ ภายในขอบแห่งวัตถุประสงค์ตามมาตรา ๕ และอํานาจ เช่นว่านี้ให้รวมถึง

(๑) ถือกรรมสิทธิ์ มีสิทธิครอบครอง และมีทรัพยสิทธิ ต่าง ๆ

(๒) ก่อตั้งสิทธิ หรือกระทํานิติกรรมใด ๆ ทั้งในและ นอกราชอาณาจักร

(๓) หาผลประโยชน์จากทรัพย์สินของกองทุน

(๔) กระทําการอื่นใดบรรดาที่เกี่ยวกับหรือเกี่ยวเนื่อง กับวัตถุประสงค์ของกองทุน

มาตรา ๑๐ กองทุนมีฐานะเป็นหน่วยงานของรัฐที่ไม่ เป็นส่วนราชการ หรือรัฐวิสาหกิจ ตามกฎหมายว่าด้วย วิธีการงบประมาณ และรายได้ของกองทุนไม่ต้องนําส่ง คลังเป็นรายได้แผ่นดิน

มาตรา ๑๑ เพื่อประโยชน์ในการดําเนินงานของ กองทุน ให้มีการจัดสรรเงินของกองทุนวิจัย และพัฒนา กิจการกระจายเสียง กิจการทรทัศน์ และกิจการ โทรคมนาคมเพื่อประโยชน์สาธารณะตามกฎหมายว่า ด้วยองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกํากับการประกอบ กิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการ โทรคมนาคมให้แก่กองทุนเป็นประจําทุกปีและเพียงพอ เพื่อให้สามารถดําเนินงานของกองทุนอย่างมี ประสิทธิภาพ

มาตรา ๑๒ ให้ค่าปรับที่ได้รับชําระตามคําพิพากษา ลงโทษผู้ละเมิดลิขสิทธิ์หรือสิทธิของนักแสดงตาม กฎหมายว่าด้วยลิขสิทธิ์จํานวนกึ่งหนึ่งตกเป็นของ กองทุน

การส่งเงินค่าปรับเข้ากองทุนตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไป ตามระเบียบที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังกําหนด โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา

มาตรา ๑๓ ให้กองทุนมีอํานาจจ่ายเงินจากกองทุน ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะกรรมการกําหนดเป็น ค่าใช้จ่ายดังต่อไปนี้

(๑) ค่าใช้จ่ายในการดําเนินงานของกองทุน

(๒) ค่าใช้จ่ายในการทํากิจกรรมตามมาตรา ๕ และ มาตรา ๙

(๓) ค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการ กําหนด

หมวด ๒ การบริหารกิจการของกองทุน

มาตรา ๑๔ ให้มีคณะกรรมการคณะหนึ่งเรียกว่า “คณะกรรมการกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและ สร้างสรรค์” ประกอบด้วย

(๑) นายกรัฐมนตรี เป็นประธานกรรมการ

(๒) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม เป็นรอง ประธานกรรมการ

(๓) กรรมการโดยตําแหน่ง ได้แก่ ปลัดกระทรวง กลาโหม ปลัดกระทรวงการคลัง ปลัดกระทรวงการ พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ปลัดกระทรวง เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ปลัดกระทรวง มหาดไทย ปลัดกระทรวงวัฒนธรรม ปลัดกระทรวง ศึกษาธิการและเลขาธิการคณะกรรมการกิจการ กระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม แห่งชาติ

(๔) กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิจํานวนเก้าคน ซึ่ง คณะรัฐมนตรีแต่งตั้งจากผู้ซึ่งได้รับการสรรหาจากผู้มี ความรู้ความสามารถและประสบการณ์ด้านกฎหมาย ด้านศิลปวัฒนธรรม ด้านการศึกษา ด้านการพัฒนาเด็ก เยาวชนและครอบครัว ด้านสุขภาพจิต ด้านคนพิการ และผู้สูงอายุ ด้านการคุ้มครอง ผู้บริโภค ด้านละหนึ่ง คน และด้านสื่อสารมวลชน สองคน

ให้ผู้จัดการเป็นเลขานุการ และให้ผู้จัดการแต่งตั้ง เจ้าหน้าที่ของสํานักงานเป็นผู้ช่วยเลขานุการ

มาตรา ๑๕ ให้มีคณะกรรมการสรรหาคณะหนึ่ง ทํา หน้าที่คัดเลือกบุคคลที่สมควรได้รับ การแต่งตั้งเป็น กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิตามมาตรา ๑๔ (๔) ซึ่ง ประกอบด้วย

(๑) ประธานคณะกรรมการประสานงานองค์กรพัฒนาเอกชน

(๒) นายกสมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย

(๓) นายกสมาคมผู้จัดพิมพ์และผู้จําหน่ายหนังสือแห่ง ประเทศไทย

(๔) ผู้แทนซึ่งเป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิใน คณะกรรมการคุ้มครองเด็กแห่งชาติตามกฎหมายว่า ด้วยการคุ้มครองเด็ก จํานวนหนึ่งคน

(๕) ผู้แทนซึ่งเป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิใน คณะกรรมการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ แห่งชาติตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมและพัฒนา คุณภาพชีวิตคนพิการ จํานวนหนึ่งคน

(๖) ผู้แทนซึ่งเป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิใน คณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติตามกฎหมายว่าด้วย วัฒนธรรมแห่งชาติ จํานวนหนึ่งคน

(๗) ผู้แทนซึ่งเป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิใน คณะกรรมการการอุดมศึกษาตามกฎหมายว่าด้วย ระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ จํานวน หนึ่งคน

(๘) ผู้แทนซึ่งเป็นอนุกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคด้าน กิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ ตามกฎหมาย ว่าด้วยองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกํากับการ ประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และ กิจการโทรคมนาคม จํานวนหนึ่งคน

ให้ปลัดกระทรวงวัฒนธรรมแต่งตั้งผู้แทนกระทรวง วัฒนธรรมคนหนึ่งเป็นกรรมการและเลขานุการของ คณะกรรมการสรรหา กรรมการสรรหาตาม (๔) (๕) (๖) (๗) และ (๘) ต้อง เป็นผู้แทนที่ได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการของ องค์กรนั้น ให้คณะกรรมการสรรหาเลือกกรรมการสรรหาคนหนึ่ง เป็นประธานกรรมการสรรหา ในกรณีที่ไม่มีกรรมการสรรหาครบตามที่กําหนดตาม วรรคหนึ่ง หรือมีแต่ไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ ภายใน เวลาสามสิบวันนับแต่เมื่อมีเหตุให้ทําการสรรหา ให้ คณะกรรมการสรรหาประกอบด้วยกรรมการ สรรหาที่ เหลืออยู่ แต่ต้องไม่น้อยกว่าห้าคน ให้สํานักงานทําหน้าที่เป็นหน่วยงานธุรการในการ ดําเนินการสรรหา

มาตรา ๑๖ ให้คณะกรรมการสรรหาตามมาตรา ๑๕ มี หน้าที่สรรหาและจัดทําบัญชีรายชื่อผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งมี คุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา ๑๘ เป็นจํานวนสองเท่าของแต่ละด้าน เสนอต่อ คณะรัฐมนตรีโดยได้รับความยินยอมของผู้ได้รับการ เสนอชื่อนั้น ทั้งนี้ ให้เสนอต่อคณะรัฐมนตรี ภายในหก สิบวันนับแต่วันที่มีเหตุที่ให้ต้องมีการเลือกบุคคลให้ ดํารงตําแหน่งดังกล่าว

กรรมการสรรหาไม่มีสิทธิได้รับการเสนอชื่อเป็น กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของคณะกรรมการ รายละเอียดของขั้นตอนและวิธีการสรรหาให้เป็นไป ตามที่คณะกรรมการสรรหากําหนด

มาตรา ๑๗ ให้คณะรัฐมนตรีพิจารณาเลือกกรรมการ ผู้ทรงคุณวุฒิจากบัญชีรายชื่อผู้ทรงคุณวุฒิที่ คณะกรรมการสรรหาเสนอให้ครบจํานวน ทั้งนี้ ให้ ผู้ทรงคุณวุฒิที่ไม่ได้รับเลือกในแต่ละด้านเป็นผู้ที่ได้รับ การบรรจุในบัญชีรายชื่อสํารองของแต่ละด้านนั้น ๆ

เมื่อคณะรัฐมนตรีแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิครบ ตามจํานวนแล้ว ให้หน้าที่ของคณะกรรมการสรรหา สิ้นสุดลง

มาตรา ๑๘ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิต้องมีคุณสมบัติและ ไม่มีลักษณะต้องห้าม ดังต่อไปนี้

(ก) คุณสมบัติ (๑) มีสัญชาติไทย (๒) มีอายุไม่ต่ํากว่าสามสิบห้าปีบริบูรณ์ (ข) ลักษณะต้องห้าม

(๑) เป็นผู้มีส่วนได้เสียไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อม ในกิจการที่กระทํากับกองทุน หรือในกิจการที่ขัดหรือ แย้งกับวัตถุประสงค์ของกองทุน

(๒) เป็นผู้มีพฤติกรรมที่ขัดหรือแย้งกับวัตถุประสงค์ ของกองทุน

(๓) เป็นผู้ดํารงตําแหน่งในทางการเมือง สมาชิกสภา ท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น กรรมการ หรือผู้ดํารง ตําแหน่งที่รับผิดชอบในการบริหารพรรคการเมือง ที่ ปรึกษาพรรคการเมือง หรือเจ้าหน้าที่พรรคการเมือง

(๔) เป็นบุคคลล้มละลายหรือเคยเป็นบุคคลล้มละลาย ทุจริต คนไร้ความสามารถ หรือคนเสมือนไร้ ความสามารถ

(๕) เคยได้รับโทษจําคุกโดยคําพิพากษาถึงที่สุดให้ จําคุก เว้นแต่เป็นโทษสําหรับความผิดที่ได้กระทําโดย ประมาทหรือความผิดลหุโทษ

(๖) เคยเป็นผู้ต้องคําพิพากษาหรือคําสั่งศาลให้ ทรัพย์สินตกเป็นของแผ่นดินเพราะร่ํารวยผิดปกติหรือมี ทรัพย์สินเพิ่มขึ้นผิดปกติ

มาตรา ๑๙ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิมีวาระการดํารง ตําแหน่งคราวละสามปี

ในกรณีที่กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิด้านใดพ้นจากตําแหน่ง ก่อนครบวาระ ให้ผู้ทรงคุณวุฒิในบัญชีรายชื่อสํารอง ของด้านเดียวกันนั้นตามมาตรา ๑๗ เป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิแทนตําแหน่งที่ว่าง และให้ผู้ได้รับแต่งตั้ง แทนตําแหน่งที่ว่างอยู่ในตําแหน่งเท่ากับวาระที่ เหลืออยู่ของผู้ซึ่งตนแทน หากไม่มีบุคคลในบัญชี รายชื่อ หรือบุคคลนั้นไม่ประสงค์ดํารงตําแหน่งแทนให้ ดําเนินการสรรหากรรมการผู้ทรงคุณวุฒิใหม่ตาม มาตรา ๑๖ เว้นแต่วาระของกรรมการจะเหลือไม่ถึงเก้า สิบวันจะไม่ดําเนินการให้มีผู้ดํารงตําแหน่งแทนก็ได้ และในกรณีนี้ ให้คณะกรรมการประกอบด้วยกรรมการ ที่เหลืออยู่ เมื่อครบกําหนดตามวาระในวรรคหนึ่ง หากยังมิได้มี การแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิขึ้นใหม่ ให้กรรมการ ผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งพ้นจากตําแหน่งตามวาระนั้นอยู่ใน ตําแหน่งต่อไปจนกว่ากรรมการผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งได้รับ แต่งตั้งใหม่เข้ารับหน้าที่ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งพ้น จากตําแหน่งตามวาระอาจได้รับแต่งตั้งอีกได้ แต่จะ ดํารงตําแหน่งติดต่อกันเกินสองวาระไม่ได้

มาตรา ๒๐ นอกจากการพ้นจากตําแหน่งตามวาระ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิพ้นจากตําแหน่งเมื่อ

(๑) ตาย

(๒) ลาออก

(๓) คณะรัฐมนตรีให้ออกเพราะบกพร่องต่อหน้าที่ มี ความประพฤติเสื่อมเสียหรือ หย่อนความสามารถ

(๔) ขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามอย่างหนึ่ง อย่างใดตามมาตรา ๑๘

มาตรา ๒๑ คณะกรรมการมีอํานาจหน้าที่ควบคุมดูแล กองทุนให้ดําเนินกิจการให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ที่ กําหนดไว้ในมาตรา ๕ อํานาจหน้าที่เช่นว่านี้ให้รวมถึง

(๑) กําหนดนโยบาย แผน และยุทธศาสตร์เกี่ยวกับการ พัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์

(๒) ออกประกาศกําหนดลักษณะของสื่อที่ไม่ปลอดภัย และไม่สร้างสรรค์

(๓) กําหนดมาตรการเพื่อส่งเสริมการพัฒนาและสร้าง ทักษะในการรู้เท่าทันสื่อ รวมทั้ง เพื่อส่งเสริมการใช้สื่อ เป็นเครื่องมือในการเรียนรู้และพัฒนาตนเอง ชุมชน และสังคม

(๔) กําหนดมาตรการเพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วมของ ประชาชนในการเฝ้าระวังสื่อตามมาตรา ๕ (๓)

(๕) กําหนดมาตรการเพื่อเสริมสร้างความร่วมมือและ ประสานงานระหว่างส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ และ หน่วยงานอื่นของรัฐ รวมทั้งภาคเอกชน ในการพัฒนา สื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์

(๖) ให้ความเห็นชอบแผนการดําเนินงานประจําปี แผนการเงินและงบประมาณประจําปีของกองทุน

(๗) ออกข้อบังคับว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการจัดสรร เงินแก่โครงการหรือกิจกรรมที่เกี่ยวกับการพัฒนาสื่อ ปลอดภัยและสร้างสรรค์

(๘) ออกข้อบังคับว่าด้วยการจัดแบ่งส่วนงานภายใน ของสํานักงาน และขอบเขตหน้าที่ของส่วนงานดังกล่าว

(๙) ออกข้อบังคับว่าด้วยการคัดเลือกผู้จัดการ การ ปฏิบัติงานและการมอบอํานาจของผู้จัดการ

(๑๐) ออกข้อบังคับว่าด้วยการบริหารงาน การ บริหารงานบุคคล การเงิน การพัสดุและทรัพย์สินของ สํานักงาน และการตรวจสอบภายในของกองทุน

(๑๑) ออกข้อบังคับว่าด้วยการกําหนดอัตรา ค่าตอบแทนหรือค่าบริการในการดําเนินกิจการของ กองทุน

(๑๒) กําหนดจํานวน ตําแหน่ง ระยะเวลาจ้าง อัตรา เงินเดือนและค่าจ้าง เงินเดือนของเจ้าหน้าที่และลูกจ้าง

(๑๓) แต่งตั้งที่ปรึกษา คณะอนุกรรมการเกี่ยวกับการ ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชน คณะอนุกรรมการ เกี่ยวกับการเฝ้าระวังสื่อที่ไม่ปลอดภัยและไม่สร้างสรรค์ คณะอนุกรรมการส่งเสริมสนับสนุน การสร้างนวัตกรรม เพื่อการพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์และ คณะอนุกรรมการอื่น ตามที่เห็นสมควร เพื่อพิจารณา หรือปฏิบัติการตามที่คณะกรรมการมอบหมาย

(๑๔) กระทําการอื่นใดที่จําเป็นเพื่อให้บรรลุ วัตถุประสงค์ของกองทุน

ประกาศตาม (๒) และข้อบังคับตาม (๗) ให้ประกาศใน ราชกิจจานุเบกษา

มาตรา ๒๒ การประชุมคณะกรรมการต้องมีกรรมการ มาประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจํานวนกรรมการ ทั้งหมดจึงจะเป็นองค์ประชุม

ในการประชุมคณะกรรมการ ถ้าประธานกรรมการไม่ มาประชุมหรือไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ให้รองประธาน กรรมการเป็นประธานในที่ประชุม ถ้ารองประธาน กรรมการไม่มาประชุม หรือไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ ให้ที่ ประชุมเลือกกรรมการคนหนึ่งเป็นประธานในที่ประชุม ในการปฏิบัติหน้าที่ ถ้ามีการพิจารณาในเรื่องที่ประธาน กรรมการหรือกรรมการผู้ใดมีส่วนได้เสีย ประธาน กรรมการหรือกรรมการผู้นั้นไม่มีสิทธิเข้าร่วมประชุม การวินิจฉัยชี้ขาดของที่ประชุมให้ถือเสียงข้างมาก กรรมการคนหนึ่งให้มีเสียงหนึ่งในการลงคะแนน ถ้า คะแนนเสียงเท่ากัน ให้ประธานในที่ประชุมออกเสียง เพิ่มขึ้นอีกเสียงหนึ่งเป็นเสียงชี้ขาด

มาตรา ๒๓ ให้มีคณะอนุกรรมการบริหารกองทุน พัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ ประกอบด้วย ปลัดกระทรวงวัฒนธรรม เป็นประธานอนุกรรมการ ผู้แทนกระทรวงกลาโหม ผู้แทนกระทรวงการคลัง และ ผู้ทรงคุณวุฒิจํานวนห้าคน ซึ่งคณะกรรมการแต่งตั้ง จากผู้ซึ่งมีความรู้ความสามารถ และประสบการณ์ ด้าน การเงิน ด้านกฎหมาย ด้านพัฒนาสังคมหรือด้าน จิตวิทยา ด้านวัฒนธรรม และด้านสื่อสารมวลชน ด้าน ละหนึ่งคน เป็นอนุกรรมการ และให้ผู้จัดการเป็น อนุกรรมการและเลขานุการ

คณะอนุกรรมการตามวรรคหนึ่งให้มีอํานาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้

(๑) ควบคุมการใช้จ่ายเงินหรือทรัพย์สินของกองทุนให้ เป็นไปตามวัตถุประสงค์และข้อบังคับที่คณะกรรมการ กําหนด

(๒) พิจารณาอนุมัติโครงการหรือกิจกรรมที่ได้รับการ ส่งเสริมหรือสนับสนุนจากกองทุน ตามข้อบังคับที่ คณะกรรมการกําหนด

(๓) ติดตามและประเมินผลการดําเนินโครงการหรือ กิจกรรมที่ได้รับการส่งเสริมหรือสนับสนุนจากกองทุน

(๔) ระดมเงินทุนจากแหล่งต่าง ๆ เข้าสู่กองทุนโดย ความเห็นชอบของคณะกรรมการ

(๕) เสนอความเห็นต่อคณะกรรมการในการจัดทํา ข้อบังคับเกี่ยวกับการบริหารงาน การบริหาร งาน บุคคล การเงิน การพัสดุและทรัพย์สินของสํานักงาน รวมทั้งการกําหนดจํานวนตําแหน่ง ระยะเวลาจ้าง อัตราเงินเดือนและค่าจ้าง เงินเดือนของเจ้าหน้าที่และ ลูกจ้าง

(๖) ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่กําหนดในพระราชบัญญัตินี้ หรือตามที่คณะกรรมการมอบหมาย

คุณสมบัติ ลักษณะต้องห้าม วาระการดํารงตําแหน่ง และการพ้นจากตําแหน่งของอนุกรรมการ ผู้ทรงคุณวุฒิ รวมทั้งการประชุมของคณะอนุกรรมการ ให้เป็นไป ตามที่คณะกรรมการกําหนด ทั้งนี้ ในการประชุม ต้อง จัดให้มีการประชุมอย่างน้อยทุกสองเดือน

มาตรา ๒๔ ให้ประธานกรรมการ กรรมการ ที่ปรึกษา อนุกรรมการ และกรรมการสรรหา ตามมาตรา ๑๕ ได้รับเบี้ยประชุมหรือประโยชน์ตอบแทนอื่นตาม หลักเกณฑ์ที่คณะรัฐมนตรีกําหนด

มาตรา ๒๕ สํานักงานมีอํานาจหน้าที่ดังต่อไปนี้

(๑) รับผิดชอบงานธุรการของคณะกรรมการ คณะอนุกรรมการบริหารกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัย และสร้างสรรค์ และคณะอนุกรรมการตามมาตรา ๒๑ (๑๓)

(๒) เสนอนโยบาย แผน และยุทธศาสตร์เกี่ยวกับการ พัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ แผนการดําเนินงาน ประจําปี แผนการเงินและงบประมาณประจําปีของ กองทุน รวมทั้งศึกษา วิเคราะห์ และประเมินผลการ ดําเนินการของกองทุนต่อคณะกรรมการ

(๓) ให้คําแนะนําแก่ผู้ผลิตสื่อในการผลิตสื่อปลอดภัย และสร้างสรรค์

(๔) จัดทําบัญชีและรายงานผลการปฏิบัติงานประจําปี ของกองทุน

(๕) ดําเนินการอื่นใดตามที่คณะกรรมการ คณะอนุกรรมการบริหารกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัย และสร้างสรรค์ และคณะอนุกรรมการตามมาตรา ๒๑ (๑๓) มอบหมาย

มาตรา ๒๖ ให้กองทุนมีผู้จัดการคนหนึ่งซึ่ง คณะกรรมการเป็นผู้แต่งตั้ง

ผู้จัดการต้องเป็นผู้สามารถทํางานให้แก่กองทุนได้เต็ม เวลา และต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้าม ดังต่อไปนี้ (ก) คุณสมบัติ (๑) มีสัญชาติไทย (๒) มีอายุไม่น้อยกว่าสามสิบห้าปีบริบูรณ์และต้องไม่ เกินหกสิบปีบริบูรณ์ในวันที่สมัครรับการคัดเลือก (๓) มีความรู้ความสามารถและประสบการณ์เหมาะสม กับกิจการของกองทุน (ข) ลักษณะต้องห้าม (๑) เป็นผู้มีส่วนได้เสียไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อม ในกิจการที่กระทํากับกองทุน หรือในกิจการที่ขัดหรือ แย้งกับวัตถุประสงค์ของกองทุน (๒) เป็นผู้มีพฤติกรรมที่ขัดหรือแย้งกับวัตถุประสงค์ ของกองทุน (๓) เป็นผู้ดํารงตําแหน่งในทางการเมือง สมาชิกสภา ท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น กรรมการ หรือผู้ดํารง ตําแหน่งที่รับผิดชอบในการบริหารพรรคการเมือง ที่ ปรึกษาพรรคการเมืองหรือเจ้าหน้าที่พรรคการเมือง (๔) เป็นบุคคลล้มละลายหรือเคยเป็นบุคคลล้มละลาย ทุจริต คนไร้ความสามารถ หรือคนเสมือนไร้ ความสามารถ (๕) เคยได้รับโทษจําคุกโดยคําพิพากษาถึงที่สุดให้ จําคุก เว้นแต่เป็นโทษสําหรับความผิดที่ได้กระทําโดย ประมาทหรือความผิดลหุโทษ (๖) เคยเป็นผู้ต้องคําพิพากษาหรือคําสั่งศาลให้ ทรัพย์สินตกเป็นของแผ่นดินเพราะร่ํารวยผิดปกติ หรือ มีทรัพย์สินเพิ่มขึ้นผิดปกติ

มาตรา ๒๗ การดํารงตําแหน่ง การพ้นจากตําแหน่ง และการกําหนดเงื่อนไขการทดลองปฏิบัติงาน ในหน้าที่ ผู้จัดการ ให้เป็นไปตามสัญญาจ้างที่คณะกรรมการ กําหนด โดยให้มีระยะเวลาการจ้างคราวละไม่เกินสี่ปี และเมื่อครบกําหนดอายุสัญญาจ้างแล้ว คณะกรรมการจะต่ออายุสัญญาจ้างอีกก็ได้แต่ต้องไม่เกินสี่ปี

ให้ผู้จัดการได้รับเงินค่าจ้าง ค่าตอบแทน และเงินอื่น ตามที่คณะกรรมการกําหนด

มาตรา ๒๘ นอกจากการพ้นจากตําแหน่งตามสัญญา จ้าง ผู้จัดการพ้นจากตําแหน่งเมื่อ

(๑) ตาย

(๒) ลาออก

(๓) ขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามสําหรับการ เป็นผู้จัดการตามมาตรา ๒๖

(๔) คณะกรรมการมีมติเห็นสมควรให้เลิกจ้าง

มาตรา ๒๙ ให้ผู้จัดการเป็นผู้บังคับบัญชา เจ้าหน้าที่ และลูกจ้างของสํานักงานและรับผิดชอบการบริหาร กิจการของสํานักงานให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของ กองทุนและตามกฎหมาย ข้อบังคับ และนโยบายที่ คณะกรรมการกําหนด

ในกิจการที่เกี่ยวกับบุคคลภายนอก ให้ผู้จัดการเป็น ผู้แทนของกองทุน เพื่อการนี้ ผู้จัดการจะมอบอํานาจให้ บุคคลใดปฏิบัติงานเฉพาะอย่างแทนก็ได้ แต่ต้อง เป็นไปตามข้อบังคับที่คณะกรรมการกําหนด

มาตรา ๓๐ การบัญชีของกองทุนให้จัดทําตาม มาตรฐานการจัดทําบัญชีสําหรับหน่วยงานภาครัฐที่ กระทรวงการคลังกําหนด โดยมีรอบปีบัญชีตาม ปีงบประมาณ

มาตรา ๓๑ กองทุนต้องจัดให้มีการตรวจสอบภายใน และรายงานผลการตรวจสอบ ให้คณะกรรมการทราบ อย่างน้อยปีละครั้ง

ในการตรวจสอบภายใน ให้มีเจ้าหน้าที่ของสํานักงาน ทําหน้าที่เป็นผู้ตรวจสอบภายในและให้รับผิดชอบขึ้น ตรงต่อคณะกรรมการตามข้อบังคับที่คณะกรรมการ กําหนด

มาตรา ๓๒ ให้กองทุนจัดทํางบการเงินพร้อมทั้ง รายละเอียดประกอบภายในหกสิบวันนับแต่วันสิ้นปี บัญชี เพื่อส่งให้สํานักงานการตรวจเงินแผ่นดินหรือ บุคคลภายนอกตามที่คณะกรรมการแต่งตั้ง โดยความ เห็นชอบของสํานักงานการตรวจเงินแผ่นดินดําเนินการ ตรวจสอบรับรองงบการเงินของกองทุน

มาตรา ๓๓ ภายในหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่วันสิ้นปี บัญชี ให้กองทุนทํารายงานประจําปี เสนอต่อ คณะกรรมการเพื่อเสนอต่อคณะรัฐมนตรี สภา ผู้แทนราษฎรและวุฒิสภา รายงานนี้ให้กล่าวถึงผลงาน ของกองทุนในปีที่ล่วงมาแล้ว งบการเงินและรายงาน ของผู้สอบบัญชี พร้อมทั้งรายงานของคณะกรรมการ ประเมินผลตามมาตรา ๓๕ (๓)

หมวด ๓ การประเมินผลการด าเนินงานของ กองทุน

มาตรา ๓๔ ให้มีคณะกรรมการประเมินผลการ ดําเนินงานของกองทุนจํานวนเจ็ดคน ประกอบด้วย ประธานกรรมการ และกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิจํานวน หกคน ซึ่งคณะรัฐมนตรีแต่งตั้งจาก ผู้ซึ่งมีความรู้ ความสามารถ และประสบการณ์ด้านการเงิน ด้าน สื่อสารมวลชน ด้านศิลปวัฒนธรรม ด้านกฎหมาย และ ด้านการประเมินผล โดยในจํานวนนี้ต้องเป็นผู้มีความ เชี่ยวชาญด้านการประเมินผล จํานวนสองคน

ให้คณะกรรมการประเมินผลแต่งตั้งบุคคลที่เห็นสมควร เป็นเลขานุการ ให้นํามาตรา ๑๘ มาตรา ๑๙ มาตรา ๒๐ มาตรา ๒๒ และมาตรา ๒๔ มาใช้บังคับกับกรรมการประเมินผล และการประชุมของคณะกรรมการประเมินผลโดย อนุโลม

มาตรา ๓๕ คณะกรรมการประเมินผลมีอํานาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้

(๑) ประเมินผลด้านนโยบายและการกําหนดกิจกรรม ของกองทุน

(๒) ติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผลการดําเนินงาน ของกองทุน

(๓) รายงานผลการปฏิบัติงานพร้อมทั้งข้อเสนอแนะต่อ คณะกรรมการในทุกรอบปี

ให้คณะกรรมการประเมินผลมีอํานาจเรียกเอกสารหรือ หลักฐานที่เกี่ยวข้องกับกองทุนจากบุคคลใด หรือเรียก บุคคลใดมาชี้แจงข้อเท็จจริงเพื่อประกอบการพิจารณา ประเมินผลได้

มาตรา ๓๖ ในการปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้ คณะกรรมการประเมินผลอาจแต่งตั้งคณะอนุกรรมการ เพื่อพิจารณาและเสนอความเห็นในเรื่องหนึ่งเรื่องใด หรือมอบหมายให้ปฏิบัติการอย่างหนึ่งอย่างใดได้ตามที่ เห็นสมควร

ให้นํามาตรา ๒๒ และมาตรา ๒๔ มาใช้บังคับกับการ ปฏิบัติหน้าที่ของคณะอนุกรรมการตามวรรคหนึ่งโดย อนุโลม

บทเฉพาะกาล

มาตรา ๓๗ ในวาระเริ่มแรก ให้คณะกรรมการ ประกอบด้วยกรรมการตามมาตรา ๑๔ (๑) (๒) และ (๓) โดยให้รองปลัดกระทรวงวัฒนธรรมที่ปลัดกระทรวง วัฒนธรรมมอบหมายเป็นกรรมการ และผู้จัดการ ปฏิบัติหน้าที่คณะกรรมการตามพระราชบัญญัตินี้ไป พลางก่อนจนกว่าจะมีการแต่งตั้งกรรมการ ผู้ทรงคุณวุฒิตามมาตรา ๑๔ (๔) ซึ่งต้องไม่เกินหนึ่ง ร้อยยี่สิบวันนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ

มาตรา ๓๘ เพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติงานของ สํานักงานให้รัฐมนตรีจัดข้าราชการ พนักงานราชการ หรือลูกจ้างในกระทรวงวัฒนธรรมมาช่วยปฏิบัติงาน ของสํานักงานเป็นการชั่วคราวซึ่งต้องไม่เกินหนึ่งปีนับ แต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับโดยให้ได้รับเงินเดือน ทางสังกัดเดิม และอยู่ในบังคับบัญชาของผู้จัดการ

ให้ผู้จัดการประเมินผลการปฏิบัติงานของข้าราชการ พนักงานราชการ หรือลูกจ้างตามวรรคหนึ่ง เสนอต่อ หน่วยงานต้นสังกัด ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี

พระราชบัญญัติ กองทุนพัฒนาสื่อ ปลอดภัยและสร้างสรรค์ พ.ศ. ๒๕๕๘ 2015년 안전하고 창의적인 미디어 개발 기금법

ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร. ให้ไว้ ณ วันที่ ๒๐ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๘ เป็นปีที่ ๗๐ ในรัชกาลปัจจุบัน พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มี พระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า โดยที่ เป็นการสมควรมีกฎหมายว่าด้วยกองทุนพัฒนาสื่อ ปลอดภัยและสร้างสรรค์ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้น ไว้โดยคําแนะนําและยินยอมของ สภานิติบัญญัติ แห่งชาติ ดังต่อไปนี้ 푸미폰 아둔야뎃 국왕 폐하께서 재위 70년 째 해인 2015년 3월 20일에 하사하셨다. 푸미폰 아둔야뎃 국왕께서 안전·창의적미 디어개발기금에 관한 법률을 제정하는 것 이 마땅하다고 왕명을 내리신 바 이에 국왕께서는 의회의 조언과 동의를 받 아 다음의 법률을 제정하는 바이다.

제1조 이 법은 "「2015년 안전하고 창의적 인 미디어 개발 기금법」"이라 한다.

제2조 이 법은 관보에 고시한 다음 날부터 시행한다.

제3조 이 법에서 사용하는 용어의 뜻은 다 음과 같다.

"미디어"란 문자, 기호, 그림 또는 음성으 로 나타내는 것으로 문서, 인쇄물, 그림, 출 판물, 채화, 영상, 광고, 기호, 사진, 영화, 동영상, 공연, 컴퓨터 시스템의 컴퓨터 데 이터 또는 부령에서 정한 그 밖의 형태로 제작된 것을 말한다. "안전·창의적미디어"란 도덕, 윤리, 문화, 안보를 촉진하고 창의성을 증진하며 특히 어린이 및 청소년과 국민이 삶의 기술을 습 득하고 가족과 사회 간의 긍정적인 관계를 촉진하며 다양한 사회에서 국민이 화합하 고 행복하게 살 수 있도록 하는 내용을 담 고 있는 미디어를 말한다. "기금"이란 안전·창의적미디어개발기금을 말한다. "사무국"이란 안전·창의적미디어개발기금 사무국을 말한다. "위원회"란 안전·창의적미디어 개발위원회 를 말한다. "평가위원회"란 기금의 성과를 평가하는 위원회를 말한다. "기금관리자"란 안전·창의적미디어개발기 금의 관리자를 말한다. "장관"이란 이 법의 시행을 책임지고 관리 하는 주무장관을 말한다.

제4조 문화부장관은 이 법에 따른 직무를 대행하며 이 법의 시행과 관련된 부령과 고 시를 공포할 권한이 있다.

해당 부령과 고시는 관보에 고시한 날부터 시행한다.

제1장 기금 설립

제5조 안전·창의적미디어개발기금이라는 기금을 설립한다.

기금은 법인으로 설립하며 다음 각 항을 목적으로 한다.

(1) 안전·창의적미디어 개발을 홍보, 촉진 및 지원한다.

(2) 안전·창의적미디어 제작자의 역량 개 발을 촉진한다.

(3), 특히 어린이와 청소년 및 가족과 국민 의 미디어 문해력 향상을 촉진, 지원하며 불안전하고 창의적이지 않은 미디어를 감 시하며 본인과 지역사회 및 사회의 발전을 위해 미디어를 활용할 수 있도록 한다.

(4) 안전·창의적미디어를 개발하기 위하여 광범위한 국민 참여를 촉진 및 지원한다.

(5) 지식체계의 연구, 교육, 개발과 안전· 창의적미디어 분야의 혁신을 촉진한다.

(6) 안전·창의적미디어를 제작하고 발전시 키기 위하여 미디어와 관련된 활동을 수행 하는 개인, 지역사회 조직, 민간단체, 공익 기관, 관공서, 국영기업 또는 그 밖의 정부 기관을 장려한다.

(7) 모든 국민이 안전·창의적미디어에 접 근하며 널리 활용할 수 있도록 수행하고 촉 진한다.

제6조 기금은 다음 각 항의 금전과 재산으 로 구성된다.

(1) 주파수 할당, 라디오, 텔레비전 방송사 업 및 전기통신사업 감독기관에 관한 법률 에 따라 공익을 위한 방송·텔레비전·전기통 신사업 연구개발기금으로부터 배정되는 자 금

(2) 정부가 배정한 초기 자금

(3) 저작권에 관한 법률에 따라 저작권 또 는 공연자의 권리를 침해하여 처벌받은 벌 금으로서, 침해자를 처벌하여 제12조에 따 라 기금에 귀속되는 금전

(4) 외국이나 국제기구로부터 수령한 금전

(5) 보수, 서비스 요금, 사업 운영에 따른 수익 또는 기금의 혜택

(6) 기부되거나 제공되는 금전 또는 재산

(7) 법률에 따라 기금에 귀속되거나 기금 이 수령하는 금전 또는 재산

(8) 기금 재산에서 발생하는 모든 수익 또 는 이익

제7조 기금 사업은 근로자 보호법, 근로관 계법, 근로자재해보상법이 적용되지 아니 한다. 다만, 기금관리자, 담당자 및 직원은 근로자 보호법 및 근로자재해보상법에서 정한 금액 이상의 보수를 받아야 한다.

제8조 기금은 장관이 고시하여 정하는 바 에 따라 방콕이나 그 밖의 도(道)에 본사를 두어야 한다.

제9조 기금은 제5조에서 규정한 목적 범위 내에서 다양한 활동을 수행할 권한을 가지 며 이에는 다음 각 항의 권한이 포함된다.

(1) 소유권, 점유권 및 각종 재산권

(2) 왕국 내외에서 권리를 설정하거나 모 든 법률행위를 수행할 권한

(3) 기금의 재산을 통해 이익을 추구할 권 한

(4) 기금의 목적과 관련된 그 밖의 모든 행 위를 수행할 권한

제10조 기금은 예산절차법에 따른 관공서 또는 국영기업에 속하지 아니하는 기관이 며 기금의 수입은 국고에 예치할 필요가 없 다.

제11조 기금 운영의 이익을 위하여 주파수 할당, 라디오, 텔레비전 방송사업 및 전기 통신사업 감독기관에 관한 법률에 따라 공 익을 위해 방송·텔레비전·전기통신사업 연 구개발기금에서 기금의 업무를 효율적으로 수행하는 데 충분한 자금을 매년 정기적으 로 배정한다.

제12조 저작권에 관한 법률에 의거하여 저 작권 또는 공연자의 권리를 침해하였다는 판결에 따라 징수한 벌금의 절반은 기금에 귀속된다.

첫 번째 단락에 따라 벌금을 기금에 납입하 는 것은 재무부장관이 관보에 고시하여 제 정하는 규칙에 따른다.

제13조 기금은 위원회가 정한 규칙과 절차 에 따라 다음 각 항의 경비를 기금에서 지 급할 권한이 있다.

(1) 기금 운용비용

(2) 제3조 및 제9조에 따른 활동과 관련된 비용

(3) 위원회가 정한 규칙에 따른 그 밖의 비 용

제2장 기금 사업의 관리

제14조 "안전·창의적미디어 개발위원회"는 다음과 같이 구성한다.

(1) 총리는 위원장직이 된다.

(2) 문화부장관은 부위원장직이 된다.

(3) 국방부차관, 재무부차관, 사회개발인 간안보부차관, 정보통신부차관, 내무부차 관, 문화부차관, 교육부차관, 국립방송사 업, 텔레비전사업, 전기통신사업위원회 사 무총장은 당연직 위원이 된다.

(4) 전문가위원은 9명으로 구성하며 법률, 예술 문화, 교육, 아동·청소년 및 가족 개 발, 정신 건강, 장애인 및 노령자, 소비자 보호 분야에 관한 경험과 전문지식을 갖춘 사람 중에서 장관은 각 분야별로 1명과 대 중 매체 분야에서 2명을 전문가위원으로 임명한다.

기금관리자가 간사직을 맡으며 기금관리자 는 사무국의 담당자를 간사보로 임명한다.

제15조 제14조제(4)항에 따라 전문가위원 으로 임명되기에 적합한 후보를 선출하는 업무를 수행하기 위하여 선출위원회를 두 고, 해당 위원회는 다음과 같이 구성한다.

(1) 민간개발기관 조정위원회의 위원장

(2) 태국 라디오 및 텔레비전기자 협회장

(3) 태국 출판업자 및 서적상 협회장

(4) 아동보호에 관한 법률에 따라 국가아 동보호위원회의 전문가위원인 대리인 1명

(5) 장애인 삶의 질 증진 및 개발에 관한 법률에 따라 국가장애인삶의질증진·개발위 원회의 전문가위원인 대리인 1명

(6) 국가문화에 관한 법률에 따라 국가문 화위원회의 전문가위원인 대리인 1명

(7) 교육부 행정규칙에 관한 법률에 따라 고등교육위원회의 전문가위원인 대리인 1 명

(8) 주파수 할당, 라디오, 텔레비전 방송사 업 및 전기통신사업 감독기관에 관한 법률 "에 따라 방송·텔레비전사업 소비자보호소 위원회의 전문가위원인 대리인 1명"

문화부차관은 문화부 대리인 1명을 선출위원회의 위원 및 간사로 임명한다. 제(4)항, 제(5)항, 제(6)항, 제(7)항 및 제(8)항에 따른 선출위원은 해당 기관으로부 터 위임받은 대리인이어야 한다. 선출위원회는 선출위원 중에서 1명을 선출 위원회의 위원장으로 선출한다. 첫 번째 단락에 따른 선출위원이 없거나 직 무를 수행할 수 없는 경우, 선출사유가 발 생한 날부터 30일 이내에 선출위원회는 남 아있는 선출위원으로 구성하되, 최소 5명 이상으로 구성한다. 선출절차를 진행할 때 사무국이 행정기관 의 역할을 수행하도록 한다.

제16조 제15조에 따른 선출위원회는 제18 조에서 정한 자격을 갖추고 결격사유가 없 는 전문가를 각 분야당 두배의 인원으로 선 출하여 명단을 작성하고 후보자들의 동의 를 받아 해당 직위를 선출하기 위한 사유가 발생한 날부터 60일 이내에 내각에 명단을 제출하여야 한다.

선출위원은 위원회의 전문가위원으로 지명 될 권리가 없다. 구체적인 선출 절차와 방법은 선출위원회 가 정한 바에 따른다.

제17조 내각은 선출위원회가 제출한 전문 가 명단에서 전문가위원을 선출하여야 한 다. 각 분야에서 선출되지 아니한 전문가는 각 분야의 예비후보자명단에 등록한다.

내각이 전문가위원의 정원에 따라 임명을 완료한 경우, 선출위원회의 임무는 종료된 다.

제18조 전문가위원은 다음 각 항에 해당하 는 자격을 갖추어야 하며 결격사유가 없어 야 한다.

(가) 자격 (1) 태국 국적일 것 (2) 최소 35세 이상일 것 (다) 결격사유

(1) 기금과 관련된 사업 또는 기금의 목적 에 반하거나 모순되는 사업에 직간접적인 이해관계인

(2) 기금의 목적에 반하거나 모순되는 행 위를 저지른 자

(3) 정치와 관련된 직책에 있는 자, 지방의 회 의원 또는 정무직 지방공무원, 정당 운 영 책임직에 있는 자, 정당의 고문 또는 정 당 관계자

(4) 파산자, 불법행위 때문에 파산한 자, 무능력자 또는 한정치산자

(5) 징역의 확정판결을 받은 자. 다만, 과 실에 의한 범죄 또는 경범죄는 제외한다.

(6) 비정상적으로 부를 축적하거나 재산이 증가하여 재산을 국가에 귀속시키는 법원 의 판결 또는 명령을 받은 자

제19조 전문가위원의 임기는 3년으로 한 다.

전문가위원이 임기만료 전에 전문가위원의 궐위가 발생한 경우, 제17조에 따라 동일 한 분야의 예비명단에 등록된 전문가가 해 당 공석의전문가위원이 된다. 보궐위원의 임기는 전임 위원의 잔여 기간으로 한다. 다만, 예비명단에 후보가 없거나 해당 후보 가 보궐위원을 원하지 아니하는 경우, 제 16조에 따라 전문가위원을 새로 선출한다. 다만, 위원의 임기가 90일 미만으로 남아 있는 경우에는 보궐위원을 임명하지 않을 수 있으며 이 경우 위원회는 남아있는 위원 으로 구성된다. 첫 번째 단락에 따른 임기가 만료된 시점에 전문가위원이 새로 임명되지 않는 경우, 궐 위된 위원은 새로운 전문가위원이 임명될 때까지 해당 위원직을 유지한다. 궐위된 위 원 대신 임명된 보궐위원은 재임이 가능하 나 연속하여 2회 이상 연임할 수 없다.

제20조 임기만료로 인한 위원직의 종료 외 에 다음의 경우 전문가위원은 해임된다.

(1) 사망

(2) 사임

(3) 직무상의 결함, 잘못된 품행 또는 역량 부족으로 내각이 해임하는 경우

(4) 제18조에 따른 자격을 갖추지 못하거 나 결격사유가 있는 경우

제21조 위원회는 제5조에서 정한 목적에 따라 기금의 운영을 감독할 권한과 의무가 있다. 이러한 권한과 의무에는 다음 각 호 의 사항이 포함된다.

(1) 안전·창의적미디어 개발에 관한 정책, 계획 및 전략 설정

(2) 비안전·창의적미디어의 특성에 대한 공고 발행

(3) 본인, 지역사회 그리고 사회의 학습 및 발전을 위한 도구로서, 미디어 활용을 촉진 하며 미디어를 간파하는 기술을 쌓고 개발 하기 위한 조치 마련

(4) 제5조제(3)항에 따라 대중의 미디어 감시에 대한 참여를 촉진하기 위한 조치 마 련

(5) 안전·창의적미디어를 개발하기 위하여 민간 부문을 포함하여 관공서, 국영기업 및 그 밖의 정부기관 간의 협력 및 조정을 강 화하기 위한 조치 마련

(6) 연간 운영 계획, 재정 계획 및 기금의 연간 예산 승인

(7) 안전·창의적미디어 개발과 관련된 계 획 또는 활동에 자금을 배정하는 원칙 및 절차에 관한 규칙 제정

(8) 사무국의 내부 업무 분담과 해당 업무 범위에 관한 규칙 제정

(9) 기금관리자 선출, 직무 수행 및 기금관 리자의 위임에 관한 규칙 제정

(10) 사무국의 운영 및 인사, 재정, 조달 및 자산 관리, 기금 내부감사에 관한 규칙 제정

(11) 기금의 사업 운영에 대한 보수 또는 용역비 요율 결정에 관한 규칙 제정

(12) 임원 및 직원의 인원, 직위, 고용기간, 월급 및 급여 요율을 결정

(13) 고문, 국민참여촉진소위원회, 비안전 ·창의적미디어감시소위원회, 안전·창의적 미디어 개발을 위한 혁신을 촉진하고 지원 하기 위하여 소위원회와 위원회가 위임한 바에 따라 심사하거나 업무를 수행하는 데 적절하다고 판단되는 그 밖의 소위원회 설 치

(14) 기금의 목적을 달성하는 데 필요한 그 밖의 조치 이행

제(2)항에 따른 공고와 제(7)항에 따른 규칙은 관보에 고시한다.

제22조 위원회 회의에는 정족수를 구성하 기 위하여 총 위원 수의 절반 이상이 참석 하여야 한다.

위원회 회의에서는 위원장이 회의에 참석 하지 아니하거나 직무를 수행할 수 없는 경 우, 부위원장이 회의의 의장을 대리한다. 부위원장이 회의에 참석하지 아니하거나 직무를 수행할 수 없는 경우, 회의에서 1명 의 위원을 회의를 주재할 의장으로 선출한 다. 직무를 수행할 때 위원장 또는 위원이 이해 관계가 있는 사항을 심의할 경우, 해당 위 원장 또는 위원은 회의에 참석할 권리가 없 다. 회의에서의 결정은 다수결로 이루어진다. 각 위원에게는 1개의 표결권이 주어지며 가부동수인 경우에는 의장이 추가로 한 표 를 더 표결한다.

제23조 안전·창의적미디어개발기금 관리 소위원회는 문화부차관을 소위원회 위원장 으로 하여 국방부 대리인, 재무부 대리인, 전문가 5명으로 구성된다. 전문가는 위원 회가 금융, 법률, 사회개발, 심리학, 문화 및 대중매체 부문에 관한 전문성과 경험을 가진 사람 중에서 각 부문별로 1명을 소위 원으로 임명하고 기금관리자는 소위원 및 간사직을 맡는다.

첫 번째 단락에 따른 소위원회는 다음 각 항의 권한과 의무가 있다.

(1) 위원회가 정한 목적과 규칙에 따라 기 금의 자금이나 자산의 지출 통제

(2) 위원회가 정한 규칙에 따라 기금에서 축진하거나 지원하는 계획 또는 활동에 대 한 승인 심사

(3) 기금으로부터 축진되거나 지원받은 계 획 또는 활동 점검 및 성과 평가

(4) 위원회의 승인을 받아 다양한 출처로 부터 자금 동원

(5) 사무국의 운영 및 인사, 재정, 물품, 재 산관리에 관한 규칙을 마련하고 임원 및 직 원의 인원, 직위, 고용기간, 월급 및 급여 요율을 정할 때 위원회에 의견 제시

(6) 이 법에 규정되거나 위원회가 정한 그 밖의 임무 수행

소위원회 회의를 포함하여 전문가소위원의 자격, 결격사유, 임기 및 소위원직의 해임 은 위원회의 규정에 따른다. 회의는 최소 2 개월에 1회 이상 개최되어야 한다.

제24조 제15조에 따른 위원장, 위원, 고문, 소위원 및 선출위원에게는 내각이 정한 원 칙에 따라 회의 수당이나 그 밖의 보수를 지급한다.

제25조 사무국은 다음 각 항의 권한과 의 무가 있다.

(1) 위원회, 안전·창의적미디어개발기금 운영소위원회 및 제21조제(13)항에 따른 소위원회의 사무를 담당한다.

(2) 위원회에 안전·창의적미디어 개발에 관한 정책, 계획, 전략과 기금의 연간 운영 계획, 재정계획 및 연간 예산을 제안하며 기금의 성과를 연구, 분석 및 평가한다.

(3) 안전·창의적미디어 제작을 위해 미디 어 제작자에게 조언을 제공한다.

(4) 기금의 장부와 연간 실적 보고서를 작 성한다.

(5) 위원회, 안전·창의적미디어개발기금 운영위원회, 안전·창의적미디어개발기금 운영소위원회 및 제21조제(13)항에 따른 소위원회가 위임한 바에 따라 그 밖의 직무 를 수행한다.

제26조 기금에 위원회가 임명한 기금관리 자 1명을 둔다.

기금관리자는 기금을 위해 상근으로 근무 할 수 있는 자여야 하며 다음 각 항에 해당 하는 자격을 갖추고 결격사유가 없어야 한 다. (가) 자격 (1) 태국 국적 (2) 선출 신청일에 만 35세 이상 만 60세 이하 (3) 기금의 사업에 적합한 지식, 능력 및 경험 보유 (나) 결격사유 (1) 기금과 관련된 사업 또는 기금의 목적 에 반하거나 모순되는 사업에 직간접적인 이해관계인 (2) 기금의 목적에 반하거나 모순되는 행 위를 저지른 자 (3) 정치와 관련된 직책에 있는 자, 지방의 회 의원 또는 정무직 지방공무원, 정당 운 영 책임직에 있는 자, 정당의 고문 또는 정 당 관계자 (4) 파산자, 불법행위 때문에 파산한 자, 무능력자 또는 한정치산자 (5) 징역의 확정판결을 받은 자. 다만, 과 실에 의한 범죄 또는 경범죄는 제외한다. (6) 비정상적으로 부를 축적하거나 재산이 증가하여 재산을 국가에 귀속시키는 법원 의 판결 또는 명령을 받은 자

제27조 기금관리자의 재직기간, 해임 및 수 습 조건은 위원회가 정한 근로계약을 준수 한다. 고용기간은 회당 4년을 초과할 수 없 으며 근로계약이 만료된 경우, 위원회는 근 로계약을 갱신할 수 있으나 계약기간은 4 년을 초과할 수 없다.

기금관리자는 위원회가 정한 바에 따라 임 금, 보수 및 그 밖의 수당을 수령한다.

제28조 근로계약에 따른 해임 외에 기금관 리자는 다음 각 항의 경우에도 해임된다.

(1) 사망

(2) 사임

(3) 제26조에 따라 기금관리자로서의 자 격을 충족하지 아니하거나 결격사유가 있 는 경우

(4) 위원회의 의결로 해임되는 경우

제29조 기금관리자는 사무국의 임원과 직 원의 감독관으로 기금의 목적과 법률, 규칙 및 정책에 따라 사무국의 사업 운영에 대한 책임을 진다.

외부인과 관련된 사업과 관련하여 기금관 리자는 기금의 대리인이 되며 이를 위하여 기금관리자는 위원회가 정한 규칙에 따라 자신을 대신하여 특정 업무를 수행하도록 다른 사람에게 권한을 위임할 수 있다.

제30조 기금의 회계는 재무부가 정한 정부 기관의 회계기준에 따라 작성하며 회계연 도는 예산연도에 따른다.

제31조 기금은 내부감사를 실시하고 적어 도 1년에 1회 감사 결과를 위원회에 보고 하여야 한다.

내부감사에는 위원회가 정한 규칙에 따라 내부감사를 담당할 사무국의 담당자를 두 며 위원회에 직접 책임을 진다.

제32조 기금은 회계연도 종료일부터 60일 이내에 세부사항과 함께 재무제표를 작성 하고 감사원의 승인을 받아 감사원 또는 위 원회가 임명한 외부인에게 제출하여 기금 의 재무제표를 감사하며 인증하도록 한다.

제33조 기금은 회계연도 종료일부터 180 일 이내에 연례보고서를 작성하여 내각, 하 원 및 상원에 제출할 수 있도록 위원회에 제출한다. 이 보고서에는 지난 한 해 동안 기금의 성과, 재무제표, 감사보고서 및 제 35조제(3)항에 따른 평가위원회의 보고서 를 포함한다.

제3장 기금 성과 평가

제34조 기금의 평가위원은 7명으로 위원장 과 전문가위원 6명으로 구성된다. 금융, 대 중매체, 예술문화, 법률 및 평가 부문에 관 한 지식, 전문성, 경험을 갖춘 사람 중에서 내각이 전문가위원으로 임명하며 그중 2명 은 평가전문가여야 한다.

평가위원회는 간사로 적절하다고 판단되는 자를 임명한다. 제18조, 제19조, 제20조, 제22조 및 제24 조는 평가위원회와 평가위원회의 회의에 준용된다.

제35조 평가위원회는 다음 각 항의 권한과 의무가 있다.

(1) 기금의 정책을 평가하고 활동을 결정 한다.

(2) 기금의 업무를 점검하고 조사하며 평 가한다.

(3) 매년 위원회에 권고사항을 포함하여 실적을 보고한다.

평가위원회는 평가 심사에 사용하기 위하 여 기금과 관련된 서류나 증거를 요구하거 나 사람을 소환하여 사실관계 진술을 제공 하게 할 수 있는 권한이 있다.

제36조 평가위원회는 이 법에 따른 직무를 수행할 때 필요하다고 인정하는 경우, 특정 사안에 대해 심사하고 의견을 제시하거나 업무를 위탁하기 위하여 소위원회를 둘 수 있다.

첫 번째 단락에 따른 소위원회의 직무 수행 에 대해서는 제22조 및 제24조을 준용한 다.

경과규정

제37조 위원회는 초기에 제14조제(1)항, 제(2)항 및 제(3)항에 따른 위원으로 구성 한다. 문화부차관이 위임한 문화부 부차관 은 위원이자 기금관리자가 되며 제14조제 (4)항에 따른 전문가위원을 임명할 때까지 이 법에 따른 위원회 직무를 임시로 수행한 다. 이러한 임시 수행 기간은 이 법 시행일 부터 120일을 초과할 수 없다.

제38조 사무국의 직무 수행을 위하여 장관 은 공무원, 계약직 공무원 또는 문화부 직 원을 배치하여 이 법 시행일부터 1년 이하 의 기간 동안 사무국의 직무 수행을 임시로 지원하게 한다. 해당 직원은 이전 부서에서 급여를 수령하며 기금관리자의 감독을 받 는다.

기금관리자는 첫 번째 단락에 따른 공무원, 계약직 공무원 또는 직원의 성과를 평가하 고 해당 성과를 소속 부서에 보고하여야 한 다. 부서 대장 쁘라윳 찬오차 총리